diaphragm pump คือ ปั๊มที่ใช้หลักการสูบและอัดของเหลวโดยแผ่นไดอะแฟรม ที่ยุบตัวด้วยแรงอัดอากาศจากลม ซึ่งแรงกลนี้จะทำให้สูบและผลักของเหลวเป็นจังหวะ ครับ โดย diaphragm pump เป็นปั๊มชนิดสูบชัก ( Reciprocating ) และเป็นปั๊มชนิดแทนที่ ( positive displacement pump ) โดยแทนที่ของเหลวในห้องสูบด้วยการเครื่องที่ของแผ่นไดอะแฟรม ปั๊มชนิดนี้จะสูบด้วยอัตราคงที่ต่อการหมุน หนึ่งรอบของเพลาครับ Diaphragm pump อาจจะรู้จักกันในอีกชื่อที่เรียกว่า Air-Operated Double Diaphragm ( AODD ) ซึ่งก็แปลง่ายๆว่า เป็นปั๊มที่ใช้ลมในการทำงาน โดยใช้ไดอะแฟรมสองอันนั่นเอง diaphragm pump หลักการทํางาน เป็นยังไง ? หลักการการทำงานตามชื่อ AODD เลย ครับ คือเป็นปั๊มที่สูบของเหลวโดยใช้แรงลม โดยใช้หลักการการแทนที่ของเหลวในห้องปั๊มของแต่ละด้าน จากการยุบตัวสลับไปมาของแผ่นไดอะแฟรม ทั้งห้องซ้าย ( A ) และห้องขวา ( B ) […]
ระบบบําบัดน้ําเสียในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร เมืองไทยเป็นประเทศของอุตสาหกรรมอาหารครับ มีโรงงานมากมายที่เกี่ยวกับวงการอาหาร โดยกว่าครึ่งของโรงงานอาหารนั้นใช้น้ำในกระบวนการผลิต หรือแม้แต่กระบวนการล้างเครื่องจักรหลังจากผลิตเสร็จในแต่ละวัน โรงงานอาหารจึงต้องการระบบบำบัดน้ำเสียคู่กันมา เมื่อกำลังจะก่อสร้างโรงงานใหม่ หรือ ขยายโรงงานอาหารเพิ่มครับ เนื่องจากโรงงานอาหารในประเทศไทยมีหลายชนิดมากครับ เช่น โรงแปรรูปเนื้อสัตว์ โรงงานผลิตภัณฑ์นม โรงงานแปรรูปผัก ผลไม้ โรงงานผลไม้กระป๋อง โรงงานข้าว โรงงานน้ำตาล โรงงานเครื่องดื่ม โรงงานเครื่องปรุงอาหาร โรงงานน้ำดื่มต่างๆ หรือแม้แต่โรงงานเบียร์ ดังนั้นโรงงานอาหาร สามารถจึงอาจมีปริมาณ BOD,COD,SS,TDS , ไขมัน , ธาตุอาหาร, คาร์บอน ,สารอินทรีย์ , สารอนินทรีย์ ที่แตกต่างกัน และสูงเกณฑ์มาตรฐานได้หมดครับ ซึ่งแต่ละประเภทโรงงานก็มีความเข้มข้นต่างกันออกไป บางโรงงาน มีไขมันสูงมากจากกระบวนการทอด บางโรงงานอาจไม่ค่อยมีค่าไขมันเลย ก็เป็นได้ครับ การออกแบบให้ตรงที่สุดควรมีค่าออกแบบ โดยการเก็บตัวอย่างน้ำเสียจากระบบบำบัดน้ำเสียที่มีอยู่เดิม ไปวิเคราะห์ จะดีที่สุดครับ หากยังไม่เคยสร้างโรงงานมาก่อนอาจต้องใช้ การประเมาณ ( เดา ) จากอุตสาหกรรมที่ใกล้เคียงกันครับ โดยส่วนมากก็เดาได้ไม่ไกล้เคียง ครับ ( 555 […]
Continue Reading...#น้ำ น้ำเป็นส่วนประกอบหลักของน้ำเสียค่ะ โดยทั่วไปน้ำเสียชุมชนประกอบด้วยกันหลายสิ่งค่ะ แต่ส่วนมากมีส่วนประกอบเป็นของเหลวถึง 99.94% และ มีของแข็ง 0.06 % เท่านั้นค่ะ #ของแข็ง โดยของแข็งในน้ำเสีย อาจมีหลายอย่างตั้งแต่ เศษขยะ กระดาษชำระ เปลือกขนุน กรวด หรือ อีกหลายอย่างที่ สามารถทิ้งลงไปในแม่น้ำ ลำคลองค่ะ โดยของแข็งถูกนิยามโดยขนาดของมันค่ะ หากไม่สามารถ ผ่านกรองขนาด 1.2 μm ดังนั้นหากมีของแข็งอยู่ในแม่น้ำลำคลองอยู่ในปริมาณมากๆ ไม่ดีแน่ค่ะ #แร่ธาตุ แร่ธาตุเป็นอีกส่วนประกอบสำคัญที่ปนอยู่ในน้ำเสีย เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส เหล็ก แมงกานีส เป็นต้น การมีแร่ธาตุมากๆ ไม่ดีต่อแม่น้ำลำคลอง ค่ะ เช่น แอมโมเนีย เป็นพิษต่อสัตว์น้ำได้ค่ะ #น้ำมันไขมัน มีน้ำมันในอาหาร และ น้ำมันปิโตรเลียม น้ำมันเครื่อง ถูกทิ้งลงในน้ำเสียมากทีเดียวค่ะซึ่งมีผลต่อท่อระบายน้ำ อุดตัน และ เพิ่มค่าความสกปรกในน้ำเสียค่ะ #แบคทีเรียและเชื้อโรค แบคทีเรีย ไวรัส และ […]
Continue Reading...บำบัดน้ำ อย่างไรให้ประหยัดที่สุด ตอนที่ 2 จากตอนที่แล้วนะครับ ว่าการออกแบบที่ดี มีชัยไปกว่าครึ่ง คือสามารถประหยัดค่าการ บำบัดน้ำ มากถึงมากที่สุดเลยครับ อย่างไรก็ตามครับ หากเราเป็นผู้รับมรดกจากรุ่นพี่ที่ออกแบบมาแล้ว สร้างระบบมาแล้วรวมถึง ดูแลระบบบำบัดน้ำ มาแล้วสักพักหนึ่งนั้น คงต้องทำใจก่อนเลยครับว่า ” เลือกมาแบบไหน ” ก็ต้องใช้แบบนั้นหล่ะครับ เราจะเริ่มกันตรงนี้นะครับว่า เราสามารถ บำบัดน้ำ ให้ประหยัดขึ้นได้อย่างไรบ้างครับ เราสามารถลดปริมาณน้ำเสีย หรือ คุณภาพน้ำแย่น้อยลงได้ ? หากไม่ได้ เราสามารถลงทุนเทคโนโลยี ได้ ? หากไม่มีงบประมาณ เราสามารถปรับปรุง เทคนิคการบำบัดน้ำ ได้? ลดปริมาณน้ำเสีย เราสามารถลดปริมาณน้ำเสียก่อนเข้าระบบ หรือ แยกน้ำเสียคุณภาพแย่ กับน้ำเสียคุณภาพดีออกจากกันก่อนได้ครับ โดย น้ำเสียที่มาจากหลายแหล่งในโรงงาน ส่วนมากจะมี แหล่งที่มีน้ำเสียคุณภาพแย่ และ น้ำเสียคุณภาพดีกว่า เช่น น้ำเสียจากกระบวนการผลิต และ น้ำเสียจากการล้างเครื่องจักร หรือ น้ำเสียจาก Cooling Tower, […]
Continue Reading...บำบัดน้ำ อย่างไรให้ประหยัดที่สุด ตอนที่ 1 อย่างที่ทราบครับว่าการ บำบัดน้ำ หรือ บำบัดน้ำเสียนั้นมีค่าใช้จ่ายมากเอาเรื่องครับ ไม่ว่าจะเป็น ค่าออกแบบ ค่าก่อสร้าง ค่าลงทุน อุปกรณ์ เสริม นู่นนี่นั่น เต็มไปหมดครับ แต่ไม่ใช่ว่าลงทุนครั้งแรก ในการสร้างระบบแล้วนั้น จะจบนะครับ โดยการดูแลรักษาค่าน้ำเสีย ให้เป็นไปตามที่ออกแบบ หรือ ตามกฎหมายกำหนดนั้น จำเป็นต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการ Operate หรือ ทำงานแต่ละวันนั่นเองครับ เราจะลองแบ่งค่าใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้นดูนะครับ ค่าออกแบบระบบ ค่าแบบ เซ็นต์โดยวิศวกร ค่าก่อสร้างระบบ งานบำบัดน้ำอย่างเดียว เช่น ตะแกรงหยาบ ถังเติมอากาศ เครื่องเติมอากาศ ถังตกตะกอนขั้นแรก ระบบตกตะกอน ปั๊ม ถังสารเคมี เครื่องอัดตะกอน เป็นต้น ค่าโครงสร้างของระบบ เช่น งานปูน งานหลังคา ห้อง ท่อเข้า ออก บ่อพัก ถนนเข้าระบบ หรือ อื่นๆ ค่าติดตั้งระบบ […]
Continue Reading...ระบบ บํา บัด น้ํา เสีย มีกี่ขั้นตอน ? ระบบ บํา บัด น้ํา เสีย ต้องแบ่งเป็นขั้นตอนด้วยเหรอ อาจะงงนะครับ แต่จริงๆการบำบัดน้ำต้องแบ่งเป็นขั้นตอนเพื่อให้ง่ายต่อการบำบัด เปรียบเสมือนการแกะปู ต้องมีขั้นตอนที่ดี จึงสามารถทานเนื้อปูได้ง่าย ( เหรอ ) ลองมาดูครับว่าขั้นตอนของระบบบำบัดน้ำมีกี่ขั้นตอนกันครับ การบำบัดน้ำเสีย สามารถแบ่งได้ตามขั้นตอนต่างๆ ดังนี้ 1. การบำบัดขั้นต้น (Preliminary Treatment) และการบำบัดเบื้องต้น (Primary Treatment) : เป็นการบำบัดเพื่อแยกทราย กรวด และของแข็งขนาดใหญ่ ออกจากของเหลวหรือน้ำเสีย โดยเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบด้วย ตะแกรงหยาบ (Coarse Screen) ตะแกรงละเอียด (Fine Screen) ถังดักกรวดทราย (Grit Chamber) ถังตกตะกอนเบื้องต้น (Primary Sedimentation Tank) และเครื่องกำจัดไขฝ้า (Skimming Devices) การบำบัด […]
Continue Reading...Envigear บริษัท บํา บัด น้ํา เสีย เป็นที่ทราบดีครับว่า การลงทุนสร้าง ระบบบำบัดน้ำเสีย นั้นตรงข้ามกับการเพิ่มกำไรให้บริษัท การเลือก บริษัท บํา บัด น้ํา เสีย ที่มีความเข้าใจในความต้องการนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมากครับ เรา envigear ทราบดีว่าการออกแบบระบบบำบัดน้ำเสีย ที่ดีนั้นต้องประกอบไปด้วย ต้องเป็นไปตามการคำนวนเพื่อผ่านค่ามาตรฐานตามกฏหมาย ต้องสามารถลดวัสดุ ลดพื้นที่ ลดน้ำหนัก เพื่อให้ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง และลงทุนลดลง ต้องสามารถอยู่ในพื้นที่ที่จำกัดได้ ต้องใช้งานง่ายไม่ยุ่งยาก และสามารถทำงานได้เองอัตโนมัติให้มากที่สุดเพื่อลดการใช้คน ต้องไม่มีค่าใช้จ่ายแฝงในการทำงานและลดข้อร้องเรียนจากบุคคลภายนอก Envigear จึงเป็น บริษัท บํา บัด น้ํา เสีย ที่ต้องการตอบทุกโจทย์ที่เป็นไปได้ คำนึงถึงทุกข้อที่ลูกค้าต้องการ เราจึงออกแบบระบบให้ แบบ Tailor made, คือเหมาะสมและเจาะจงรายละเอียดในแต่ละลูกค้า เพื่อให้ทุกการลงทุน มีประโยชน์และสามารถช่วยเหลือสิ่งแวดล้อม ได้ตามเป้าหมายครับ ระบบบำบัดน้ำเสียคือ สถานที่รวบรวมน้ำเสียจากแหล่งกำเนิดน้ำเสียจาก กระบวนการต่างๆในโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อนำมาเข้าสู่กระบวนการบำบัด ( เพื่อให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้ง )แบบต่างๆ เพื่อกำจัดมลพิษและสารปนเปื้อนที่อยู่ในน้ำเสีย ให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น […]
Continue Reading...