Home » diaphragm pump ราคา เท่าไหร่

diaphragm pump ราคา เท่าไหร่

diaphragm pump ราคา เท่าไหร่ / ปั๊มไดอะแฟรม / ไดอะแฟรมปั๊ม

สารบัญ

หากคุณต้องการ ปั๊มลมไดอะแฟรม แล้ว คุณเองคงต้องการทราบว่า แล้วเราจะเลือกรุ่นของปั๊ม รุ่นไหนดีนะ ราคาเท่าไหร่ ?

หากต้องการเลือกรุ่น diaphragm pump เพื่อทราบราคา อย่างง่ายๆ มีอยู่แค่ 3 อย่างเท่านั้นที่ต้องรู้ครับ คือ

  1. ขนาดของปั๊มที่ต้องใช้   ?
  2. วัสดุของ ปั๊ม คือชนิดใด ?
  3. ความหนืดของเหลวที่ต้องการสูบ สูงสุดเท่าไหร่ ?

หากทราบ 3 ข้อมูลนี้แล้วเราสามารถ ทราบว่า diaphragm pump ราคา เท่าไหร่ เลือกปั๊มได้เลยครับ หรือ หากต้องการให้เราเลือกรุ่นปั๊มให้ โทรมาได้เลยครับ

ราคาปั๊มไดอะแฟรม – อะลูมิเนียม Aluminum

เหมาะสำหรับ : โคลน, กากตะกอน, น้ำเสีย , ทาสี, ตัวทำละลาย, หมึกพิมพ์, กาว, น้ำมัน, โทลูอีน (toluene), ไซลีน (xylene)

ราคาปั๊มไดอะแฟรม Ovell ( USA )วัสดุแผ่นไดอะแฟรมราคา
ก่อน VAT
ไดอะแฟรมปั๊ม อะลูมีเนียม Aluminum  1/2 นิ้วPTFE16,500 ฿
ไดอะแฟรมปั๊ม อะลูมีเนียม Aluminum   1 นิ้วPTFE18,500 ฿
ไดอะแฟรมปั๊ม อะลูมีเนียม Aluminum  1-1/2 นิ้วPTFE37,000 ฿
ไดอะแฟรมปั๊ม อะลูมีเนียม Aluminum  2 นิ้วPTFE55,500 ฿

ราคาปั๊มไดอะแฟรม – สแตนเลส SUS316

หมาะสำหรับ : ใช้ในโรงงานอาหาร Food grade , ครีม เครื่องสำอางค์ , พอลิไวนิลคลอไรด์ (polyvinyl chloride), แอมโมเนีย (ammonia), กรดซัลฟูริก (sulfuric acid), กรดโครมิก (chromic acid), ตัวแทนล้างไขมัน (degreasing agent), เมทิลีน คลอไรด์ (methylene chloride)

ราคาปั๊มไดอะแฟรม Ovell ( USA )วัสดุแผ่นไดอะแฟรมราคา
ก่อน VAT
ไดอะแฟรมปั๊ม สแตนเลส SUS 316  1/2 นิ้วPTFE30,000 ฿
ไดอะแฟรมปั๊ม สแตนเลส SUS 316 1 นิ้วPTFE35,500 ฿
ไดอะแฟรมปั๊ม สแตนเลส SUS 316 1-1/2 นิ้วPTFE150,000 ฿
ไดอะแฟรมปั๊ม สแตนเลส SUS 316 2 นิ้วPTFE200,000 ฿

ราคาปั๊มไดอะแฟรม – โพลีโพรไพลีน ( PP )

เหมาะสำหรับ : สูบกรดไฮโดรคลอริก (hydrochloric acid), อควารีเจีย (aqua regia), โซเดียมไนไตรท์ (sodium nitrite) , กรดฟอสฟอริก (phosphoric acid), กรดบอริก (boric acid)

ราคาปั๊มไดอะแฟรม Ovell ( USA )วัสดุแผ่นไดอะแฟรมราคา
ก่อน VAT
ไดอะแฟรมปั๊ม โพลีโพรไพลีน ( PP ) 1/2 นิ้ว PTFE22,000 ฿
ไดอะแฟรมปั๊ม โพลีโพรไพลีน ( PP ) 1 นิ้ว PTFE28,500 ฿
ไดอะแฟรมปั๊ม โพลีโพรไพลีน ( PP ) 1-1/2 นิ้ว PTFE45,000 ฿
ไดอะแฟรมปั๊ม โพลีโพรไพลีน ( PP ) 2 นิ้วPTFE64,500 ฿

หากต้องการใบเสนอราคา diaphragm pump ยี่ห้อ wilden, sandpiper , versamatic สามารถขอราคาได้ที่ 082-224-2535, 081-923-9873

เลือกปั๊มไดอะแฟรม อย่างไรดี ?

หากยังไม่ทราบว่าจะเลือก diaphragm pump อย่างไรดี ลองดูข้อมูลด้านล่างประกอบครับ

1. ขนาดของปั๊มไดอะแฟรม ควรใหญ่แค่ไหน ?

ขนาดของปั๊มไดอะแฟรม เลือกตามขนาดท่อครับ เช่น ท่อขนาด 1/2 ” ,1 ” ,1 1/2″ , 2″ และ 3″ ( นิ้ว ) ครับ โดยสามารถสูบสารเคมีและของเหลว  และ สูบไกลแค่ไหน

ต้องการปั๊มสารเคมี หรือ ของเหลว ปริมาณเท่าไหร่ และ ( แรงดัน ความหนืด ) แค่ไหน ?

ที่ต้องรู้ว่าเราจะปั๊มน้ำ สารเคมี น้ำเสีย หรือ ของเหลวไปปริมาณเท่าไหร่ อาจต้องทราบปริมาณการสูบน้ำ ต่อ เวลาที่ต้องการครับ  อย่างไรก็ตามมีผู้ผลิตหลายเจ้าบอกว่าเพื่อยืดอายุการใช้งานปั๊ม ควรเลือกขนาดมากกว่า 1.5 เท่าครับ

เช่น หากเราต้องการสูบสารเคมี A ที่ อัตราการไหล 100 ลิตรต่อนาที ที่ 30 เมตรเฮด เราควรเลือก ปั๊มไดอะแฟรมขนาด 1 นิ้ว ครับ  

2. วัสดุตัวเรือนปั๊ม และ แผ่นไดอะแฟรม ควรเป็นชนิดใด ?

 

ปั๊มสูบอะไร ? เลือกสูบสารเคมี หรือ ของเหลวชนิดใด

ที่จำเป็นต้องรู้การว่า ปั๊มไดอะแฟรมของเรา เอาไป สูบอะไรนั้นคือ เพราะเราต้องเลือก ” วัสดุ ” ของ ตัวเรือนปั๊ม ( Body ) และ แผ่น ไดอะแฟรม (  Diaphragm material )  ว่าต้องทนกับสารเคมีไหนได้บ้าง ยกตัวอย่าง ของ Diaphragm pump wilden นะครับ ทางผู้ผลิตแนะนำมาว่า ตัวเรือนของปั๊ม และ แผ่นไดอะแฟรม นั้น สามารถทนสารเคมีอะไรได้ดีบ้างครับ

A – ทนได้ดีมาก
B –  ทนได้พอสมควร – เลือกใช้ได้
C – สามารถใช้ได้ในบางครั้ง ( ถ้าเป็นไปได้ให้หลีกเลี่ยง )
D – ไม่สามารถทนสารเคมีนี้ได้ ( ห้ามใช้ )

เช่น หากเราต้องการเลือก สูบ Nitro Ethane เราจะเลือก วัสดุเรือนปั๊มเป็น Aluminum แผ่นไดอะแฟรมเป็น Teflon เป็นต้น ครับ

3. Diaphragm pump สูบของเหลวได้หนืดแค่ไหน?

ความหนืดของของเหลวต้องดูจาก MSDS ของสารเคมีหรือ ของเหลวนั้นๆครับ โดยมีตัวอย่างความหนืด คร่าวๆตามตัวอย่างด้านล่าง เพื่อความเข้าใจ ครับ

ตัวอย่างของเหลวทีต้องการสูบความหนืดในหน่วย cps
ครีม โลชั่น6,000
สบู่3,000
โซดาไฟ ( NaOH )140
เลือด20
น้ำผึ้ง 5,500
เนยถั่วแบบครีม30,000
เบียร์2
กลูโคส80,000
น้ำเกลือ1

หลักการที่ควรทราบคือควรเลือกขนาดปั๊มให้สัมพันธ์กับความหนืดของเหลวที่ต้องการสูบครับ กฎง่ายๆที่ต้องทราบคือ

เลือกขนาดปั๊ม AODDของเหลวต่ำกว่าท่อทางดูด
Suction Lift
ของเหลวสูงกว่าท่อทางดูด
Flooded suction
1/2″3,000 cps15,000 cps
1 “8,000 cps40,000 cps
1-1/2″ – 2″-3″10,000 cps50,000 cps
ค่าแก้ไข ความหนืด AODD

หากต้องสูบของเหลวที่มีความหนืดสูง จะต้องเลือกปั๊มที่ขนาดใหญ่ขึ้น อีกครับ ยกตัวอย่างเช่น

” หากต้องการสูบ ของเหลว B ที่ 125 ลิตรต่อนาที ที่ ความหนืด 8,000 CPS ค่าแก้ไข ประสิทธิเหลือเพียง 50%

ดังนั้น เอา 125 หารด้วย 50% = 125/0.5 = 250 ลิตรต่อนาทีแทนครับ “

แผ่นไดอะแฟรม มีวัสดุอะไรบ้าง ?

วัสดุของส่วนต่างๆ ของปั๊ม diaphragm สำคัญแค่ไหน ?

ส่วนที่ต้องสัมผัสสารเคมี น้ำเสียเคมี หรือ ของเหลวอื่นๆ ต้องทนกับสารเคมีนั้นๆ ได้ดีครับ อย่างน้อยต้องเลือก B ขึ้นไปครับ ลองคิดดูนะครับว่าหาก เราเลือกวัสดุต่างๆ ของปั๊มผิดอะไร จะเกิดขึ้นได้บ้าง

ปั๊มต้องสูบของสารเคมีนั้น เรื่อยๆ มีโอกาสทำให้ ตัวปั๊มเสียหาย แผ่นไดอะแฟรมขาด ลูกบอลพัง ปั๊มไม่ขึ้น ต้องเปลี่ยนอะไหล่ หรือ แปปเดียวต้องเปลี่ยนปั๊มใหม่ ไม่คุ้มแน่ๆ ครับ

“Diaphragm pump อาจจะรู้จักกันในอีกชื่อที่เรียกว่า Air-Operated Double Diaphragm ( AODD )  ซึ่งก็แปลง่ายๆว่า เป็นปั๊มที่ใช้ลมในการทำงาน โดยใช้ไดอะแฟรมสองอันนั่นเองครับ”

เทคนิคการติดตั้ง ไดอะแฟรมปั๊ม เพื่อยืดอายุปั๊ม

แม้ว่า diaphragm ปั๊มนั้นทนทานต่อการใช้งาน เช่นสูบสารเคมีเข้มข้นๆได้ ไม่มีการ rundry ป้องกันการระเบิด สูบในน้ำ ( ใต้น้ำได้ ) แต่เพื่อป้องกันการเสียหายเมื่อต้องติดตั้ง diaphragm pump เป็นครั้งแรกนั้น ควรทำตามเทคนิคเบื้องต้นนี้ครับ

  1. การติดตั้งควรยึดอยู่กับฐานรองปั๊มที่แข็งแรง
  2. ท่อทางดูดจะต้องไม่ลดขนาดลง
  3. สายทางดูด จะต้องไม่มีขนาดน้อยกว่า ขนาดของท่อทางดูด
  4. ความยาวของระยะดูดควรจะสั้นที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ โดยจะต้องไม่เกิน 5 เมตร
  5. ควรติดตั้ง กรองอากาศ หรือ regulator
  6. สำหรับ แผ่น PTFE , Teflon ควรตั้งแรงดันอากาศในครั้งแรก เป็น 2 บาร์ ในการเริ่มใช้ AODD ครั้งแรก
  7. ความเร็วต่อรอบที่จะทำให้ปั๊มใช้งานได้นานที่สุดคือ 60-70 รอบต่อนาทีครับ

ทำไมต้องมีฐานรองปั๊ม

เมื่อติดตั้งปั๊มลมไดอะแฟรม จำเป็นต้องมีการยึดกับฐานรองปั๊มให้แน่นหนา มั่นใจว่ามีการขันน๊อตยึดกับพื้น และ ปั๊มเรียบร้อยก่อนการใช้งาน เพราะปั๊มลมไดอะแฟรม เป็นปกติที่ปั๊ม AODD จะมีการสั่นจากการทำงาน เพื่อสร้างแรงสูบและส่งของเหลว ดูที่ diaphragm pump คืออะไร ? ดั้งนั้นหากไม่มีการยึดฐานปั๊ม มีโอกาสที่ปั๊มจะกระแทกพื้น คสล หรือ ท่อหักเสียหาย ซึ่งอาจต้องซื้ออะไหล่ มาเปลี่ยนโดยใช่เหตุครับ

” ห้ามลดขนาดท่อทางดูดโดยเด็ดขาดครับ เช่นหากเราเลือกปั๊มขนาด 1 นิ้ว ( 1″ ) ท่อทางดูดและทางส่ง จะมีขนาด 1″ ด้วย โดยขนาดท่อ หรือ สายยางรวมถึง fitting ของทางดูดจะต้องไม่เล็กกว่า 1″ เช่น 3/4″ 1/2″ โดยเด็ดขาดครับ “

HTML Snippets Powered By : XYZScripts.com