Home » ถังตกตะกอน clarifier tank

ถังตกตะกอน clarifier tank

ถังตกตะกอน clarifier

Clarifier Tank ทำงานยังไง ?

ถังตกตะกอน clarifier tank คือ ถังที่ใช้สารเคมี ( Coagulant ) มาช่วยเร่งการเกิดตะกอนการทำตะกอนให้ใหญ่ขึ้น ( Flocculation ) และ จบด้วยการตกตะกอน ( Sedimetation ) การรวมกันทั้ง 3 กระบวนการนี้ถูกรวมในถังเดียวกัน

ถัง Clarifier tank นี้จะทำหน้าทีทำให้น้ำใสสะอาด เพื่อแยกของแข็งของเหลวออกจากกัน โดยใช้เครื่องจักร , อุปกรณ์ หรือ ระบบต่างๆ เช่น Mixing ใบกวน , Clarifier Machnism แขนกวนใต้ถัง ที่ทำมาเหล็กหรือสแตนเลสเพื่อใช้ในการกวน กวาดตะกอน ( sludge ) ออกจากก้นถัง ออกไป หรือ แขนกวาดตะลอยลอย ( scum ) ขับเคลี่อนโดยเกียร์มอเตอร์ครับ

ถังตกตะกอน clarifier tank เหมือนหรือต่างจาก ถังตกตะกอน Sedimentation tank

หากจะดูความแตกต่างระหว่างชือของถังตกตะกอน ต้องลองดูที่รากศัพท์ครับ

Sediment แปลว่า ตกตะกอน เกี่ยวกับตะกอน หากนำมาใช้ในระบบบำบัดน้ำ คำว่า ” ตกตะกอน ” เป็นคำที่ใช้มากที่สุดครับ หากต้องการทราบรายละเอียดของ sedimentation tank มากกว่านี้เราเขียนอีกบทความไว้แล้วที่นี่ครับ

เมื่อบ้านเรือน โรงแรม อาคาร หรือ อุตสาหกรรม ต้องการใช้นำ้ใสสะอาดขึ้นครับ วิธีการทำให้กำจัดของแข็งแขวนลอย (Suspended Solid ) หลายๆแบบ นั้นถูกนำมาใช้เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าที่ต่างกันครับ

ของแข็งแขวนลอยที่มีขนาดใหญ่ที่สามารถตกตะกอนได้ด้วย แรงโน้มถ่วงของโลก โดยไม่ต้องเติมสารเคมี หรือ ใช้เครื่อง อุปกรณ์ใดช่วยเลยครับในการเร่งการตกตกตะกอนคอลลอยด์

Clarify แปลว่า ทำใช้ชัดเจน ทำให้เข้าใจง่าย ทำให้ใสสะอาด หากนำมาใช้ในฝั่งการบำบัดน้ำ หรือ การผลิตน้ำ คำว่า ” ทำให้ใสสะอาด ” น่าจะเป็นคำที่ตรงที่สุดครับ
โดย หากเพิ่ม -er เข้าไปนั้น จะเปลี่ยนเป็นผู้กระทำ หรือ เครื่องทำ โดยหากตกตะกอนเฉยๆ ไม่ใสสะอาดแน่ครับ เลยจำเป็นต้องมีอุปกรณ์มาช่วยทำนำ้ในใสขึ้นครับ

ถังตกตะกอน clarifier tank มีกี่ชนิดกันนะ ?

1.ถังตกตะกอน clarifier tank ชนิด Horizontal – Flow ( ไหลแนวนอน )

ถังตกตะกอนชนิด Horizontal-Flow ( ไหลแนวนอน) ก็ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ครับ โดยจะต้องมีการนำตะกอนออกจากก้นถังเป็นช่วงๆ เป็นครั้งๆไปครับ สามารถออกแบบถังตกตะกอน ถังให้เป็นแบบสี่เหลี่ยมหรือ ทรงกลมได้ทั้งคู่ครับ โดยถังประเภทนี้ที่รู้จักกันดีในวงการน้ำเสียคือ DAF, Dissolved Air Floatation Tank ครับ

2.ถังตกตะกอน clarifier tank ชนิด Vertical – Flow ( ไหลแนวตั้ง )

โดยถังตกตะกอนชนิด Vertical-Flow ( ไหลแนวตั้ง ) นั้นมีประสิทธิภาพมากกว่า Horizontal-Flow (ไหลแนวนอน ) มากครับ โดยน้ำใสจะไหลขึ้นผ่านชั้นของตะกอน และยังมีแรงโน้มถ่วงของโลกมาช่วยดึงตะกอนลงอีกด้วยครับ โดยถูกพัฒนาและออกแบบหลายหลายชนิดมากครับ เช่น

สามารถออกแบบให้มีโซนในการผสมเคมี ( Coagulant ) และไหลลง เพื่อให้ตะกอนอยู่ด้านล่าง น้ำใสไหลขึ้นไปผ่าน V-Notch weir ออกจากระบบไป การออกแขนกวาดตะกอแบบนี้สามารถลดความชันของกรวย ( Hopper ) ซึ่งแต่เดิมต้องสูงมากๆ จนเหลือแค่ ก้นเตี้ยๆเท่านั้นครับ

โดย clarifier tank ชนิด Vertical – Flow มีหลายชื่อเลยครับ เช่น Solid-Contact Clarifier , High Rate Solid-Contact Clarifier ( HRSCC ), Upflow clarifier, Sludge Blanket Clarifier. เป็นต้นครับ

ถังที่ใช้สารเคมี ( Coagulant ) มาช่วยเร่งการเกิดตะกอนการทำตะกอนให้ใหญ่ขึ้น ( Flocculation ) และ จบด้วยการตกตะกอน ( Sedimetation )

การรวมกันทั้ง 3 กระบวนการนี้ถูกรวมในถังเดียวกันเรียกว่า Clarifier

ถังที่ใช้สารเคมี ( Coagulant ) มาช่วยเร่งการเกิดตะกอนการทำตะกอนให้ใหญ่ขึ้น ( Flocculation ) และ จบด้วยการตกตะกอน ( Sedimetation )

การรวมกันทั้ง 3 กระบวนการนี้ถูกรวมในถังเดียวกันเรียกว่า Clarifier

Clarifier Tank ทำงานยังไง ?

เราลองมาใช้ Vertical-flow เป็นตัวอย่างของส่วนประกอบของ Clarifier tank นะครับ

1. น้ำเสียเข้าระบบ ( Influent )

  • โดยรูปแบบคือน้ำเสียถูกสูบเข้ามาจากทางด้านล่างของถังตกตะกอน Clarifier. โดยจะถูกส่งไปยังโซนผสมสารเคมีต่อไป

2. โซนผสมสารเคมี ( Mixing )

หลังจากที่น้ำเสียเข้าสู่โซนผสม สารเคมีจะถูกสูบเข้ามาจากทางด้านบน พร้อมทั้งผสมน้ำเสียและสารเคมี ( Coagulant ) เข้าให้เป็นเนื้อเดียวกันครับ

เมื่อบ้านเรือน โรงแรม อาคาร หรือ อุตสาหกรรม ต้องการใช้นำ้ใสสะอาดขึ้นครับ วิธีการทำให้กำจัดของแข็งแขวนลอย (Suspended Solid ) หลายๆแบบ นั้นถูกนำมาใช้เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าที่ต่างกันครับ

ของแข็งแขวนลอยที่มีขนาดใหญ่ที่สามารถตกตะกอนได้ด้วย แรงโน้มถ่วงของโลก โดยไม่ต้องเติมสารเคมี หรือ ใช้เครื่อง อุปกรณ์ใดช่วยเลยครับในการเร่งการตกตกตะกอนคอลลอยด์

3. โซนรวมตะกอน ( Flocculation )

เมื่อน้ำเสียได้รับการผสมสารเคมี ทำให้มีขนาดของ คอลลอยด์ในน้ำเสียรวมตัวกันกับเคมีและใหญ่ขึ้น จนเกิดฟล๊อค ( Floc ) น้ำเสียและ floc นี้จะถูกบังคับทิศทางน้ำไหลลงไปด้านล่างของถัง ทำให้ตะกอนหนัก จมลงสู่ใต้พื้นถัง

4. โซนการตกตะกอน ( Setting )

น้ำเสียและตะกอนจะถูกบังคับทิศทางให้ไหลขึ้นไปอีกครั้ง โดยน้ำจะไหลขึ้นผ่านชั้นของตะกอนจะออกจากปากถังด้านบน โดยต้องควบคุมระดับของชั้นตะกอนไม่ให้สูงเกินไปกว่า จุดตะกอนสูงสุด จนสามารถไหลออกทางปากถังด้านบนได้

5. น้ำออกจากระบบ ( Effluent )

น้ำใสจะถูกนำออกจากระบบจากทางด้านบนครับ โดยไหลผ่าน V-Notch Weir, เวียร์ เพื่อชะลอความเร็วของการไหลน้ำใสออก

6. ตะกอนออกจากระบบ ( Sludge Drain )

ตะกอนจะถูกพักในบ่อพักตะกอนและถูกระบายตะกอนทิ้งโดย วาล์วระบายตะกอนอัตโนมัติ หลังจากนั้นตะกอนจะถูกนำไปกำจัดตามกฎหมายต่อไปครับ

HTML Snippets Powered By : XYZScripts.com