Home » dosing pump ราคาดี ปั๊มดูดสารเคมี metering pump ราคาถูก

dosing pump ราคาดี ปั๊มดูดสารเคมี metering pump ราคาถูก

สารบัญ

หากคุณต้องเลือก dosing pump เพื่อไปจ่ายสารเคมี งานชุบ การล้างตะกรันใน Boiler ระบบ Coagulation flocculation ในน้ำเสีย หรือ จ่ายคลอรีนเพื่อฆ่าเชื้อในงานน้ำประปา เพื่อความแม่นยำ ตรงเป๊ะ ต้องรู้เพียง 3 ข้อเท่านั้นครับ เพื่อให้สามารถเลือก metering pump ได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสมกับการใช้งาน ครับ


1.ปั๊มต้องสูบจ่ายสารเคมีได้ปริมาณเท่าไหร่ Flowrate ( หน่วยเป็น ลิตรต่อชม ) ?
2.แรงดันปั๊มต้องมากเท่าไหร่ Pressure เพื่อสูบให้ถึง ( หน่วยเป็น บาร์ ) ?
3.ต้องการ metering pump เพื่อใช้กับสารเคมีอะไร อุณหภูมิเท่าไหร่ ?

หากคุณมี 3 ข้อมูลนี้แล้วเราสามารถ ทราบว่า dosing pump ราคา เท่าไหร่ เลือกปั๊มได้เลยครับ หรือ หากต้องการให้เราเลือกรุ่นปั๊มให้ โทรมาได้เลยนะครับ

Dosing pump ราคา

ราคา dosing pump แบบมอเตอร์ ( ขนาดใหญ่ )

เหมาะสำหรับสูบจ่ายสารเคมีที่ต้องการความแม่นยำสูง ในอัตราการสูบจ่ายเยอะๆ แรงดันสูง ต้องการซื้อยาว เมื่อเสียแล้วซ่อมครับ

ปั๊มสูบสารเคมี
อัตราการสูบ( ลิตรต่อชม.)แรงดัน บาร์ วัสดุหัวปั๊มวัสดุแผ่นไดอะแฟรมPower (kW)ราคา (Ligao)
1012SS316/PVDF/PPPTFE0.3727,500 ฿
2510SS316/PVDF/PPPTFE0.3727,500 ฿
5010SS316/PVDF/PPPTFE0.3727,500 ฿
907SS316/PVDF/PP
PTFE0.3727,000 ฿
1207SS316/PVDF/PPPTFE0.3728,750฿
1707SS316/PVDF/PPPTFE0.3730,000฿
2405SS316/PVDF/PPPTFE0.37
33,750 ฿
3305SS316/PVDF/PPPTFE0.3736,250฿
4005SS316/PVDF/PPPTFE0.3740,000฿
5005SS316/PVDF/PPPTFE0.3743,750 ฿

หากต้องการใบเสนอราคา dosing pump ยี่ห้อ Seko , Prominent , Ligao, Ovell สามารถขอราคาได้ที่ 082-224-2535, 081-923-9873

ราคา dosing pump แบบโซลินอยด์ ( ขนาดเล็ก )

เหมาะสำหรับการสูบสารเคมีให้แม่นยำ ในอัตราสูบจ่ายต่ำๆ แรงดันไม่สูง เหมาะกับการเสียแล้วเปลี่ยนตัวใหม่ครับ

ราคา Dosing pump Ovell

อัตราการสูบ( ลิตรต่อชม.)แรงดัน บาร์ วัสดุหัวปั๊มวัสดุแผ่นไดอะแฟรมPower (W)ราคา ( Ovell )
18 PPPTFE124,600 ฿
37PPPTFE124,600 ฿
65PPPTFE184,800 ฿
103PP
PTFE204,800 ฿
152PPPTFE304,800 ฿
201PPPTFE305,000 ฿
2.520PVDFPTFE20
5,000 ฿
68PVDFPTFE205,200 ฿
155PVDFPTFE405,200 ฿
602PVDFPTFE405,500 ฿

หากต้องการใบเสนอราคา dosing pump ยี่ห้อ Seko , Prominent , LMI , Ligao สามารถขอราคาได้ที่ 082-224-2535, 081-923-9873

ทำไมต้องใช้ Dosing pump ?

การจ่ายสารเคมีให้ถูกต้อง แม่นยำ นั้นมีความสำคัญมากกับหลายอุตสาหกรรมครับ เมื่อคนเราไม่สามารถเติมสารเคมีให้ถูกต้อง แม่นยำได้เป๊ะๆ เช่น การเติมสารเคมีโดยขึ้นกับค่าความเป็นกรด-ด่าง ( pH ) ในการควบคุม หรือ แม้แต่การเติมสารเคมีปริมาณน้อยๆ คน ( เรา ) ก็อาจเติมสารเคมีเพี้ยนไป เกิดความผิดพลาด จนอาจทำให้ผลิตภัณฑ์ไม่ปลอดภัย หรือเสียหายได้ครับ

dosing pump นั้นจึงถูกออกแบบมาเพื่อการนี้ครับ โดยสารเคมีจะถูกสูบและจ่ายได้อย่างแม่นยำ เที่ยงตรงในอัตราที่คงที่ครับ

เลือก Dosing pump อย่างไรดีนะ ?

หากยังไม่ทราบว่าจะเลือก dosing pump อย่างไรดี ลองดูข้อมูลด้านล่างประกอบได้เลยครับ

1.ปั๊มต้องสูบจ่ายสารเคมีได้ปริมาณเท่าไหร่ ( หน่วยเป็น ลิตรต่อชม ) ?

Dosing pump มีหลายขนาดมากๆครับ มีตั้งแต่จ่ายสารเคมีปริมาณน้อยๆ จน ถึงปริมาณมาก ดังนั้นการทราบปริมาณในการสูบสารเคมีเป็นสิ่งที่ต้องรู้ในการเลือกปั๊มครับ
โดยปกติการเลือก metering pump จะเลือกขนาดปั๊มให้อยู่ในระหว่าง 85-90% ของประสิทธิภาพปั๊มครับ dosing pump ราคาถูกหรือแพงชึ้นอยู่กับส่วนนี้ค่อนข้างมากครับ

สูตรหาร 0.9


หากต้องการปั๊มสูบสารเคมีสูงสุดที่ 25 ลิตรต่อชม สูตรคือ 25×100/90 หรือ เอา 25/0.9

…..

ควรเลือกปั๊มขนาดไม่น้อยกว่า 28 ลิตรต่อชม ครับ

2.แรงดันปั๊มต้องมากแค่ไหนเพื่อสูบไห้ถึง ( หน่วยเป็น บาร์ ) ?

ส่วนที่สองเป็นข้อมูลที่สำคัญไม่แพ้กันในการเลือก Dosing pump ครับ

2.1 แรงดันต้องมากกว่าทางออก

โดยปั๊มต้องดันสารเคมีให้ถึงฝั่ง หรือต้องมีแรงดันเพียงพอชนะแรงดันในเส้นท่อที่สามารถส่งสารเคมีไปให้ถึงทีที่ต้องการครับ งงในงงมั้ยครับ

ปั๊มฟีด แรงดันสูง

หากท่อที่เราต้องการฟีดสารเคมีเข้าไปท่อ A ที่มีแรงดันอยู่ 10 บาร์ โดยความยาวท่อจากปั๊ม 60 เมตร สูง 2 เมตร

——-

เราควรเลือกปั๊มให้มากกว่า 12 บาร์ หรือ อาจถึง 15 บาร์

——

เพื่อให้ ปั๊มเรามีแรงดันชนะ แรงดันท่อ ( และ friction loss ต่างๆในท่อด้วยครับ )

2.2 เส้นท่อ เล็กเกินไปมั้ย

อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ แรงดันตกลง คือขนาดของท่อทางจ่ายครับ หากท่อที่เราติดตั้งขนาดเล็กเกินไป จะเกิดแรงดันตกลงได้อย่างมากครับ การเลือก ปั๊มฟีดต้องเลือกตาม กราฟประสิทธิภาพของปั๊ม pump performance curve เป็นหลักด้วยนะครับ เพื่อมั่นใจว่าจะได้ทั้ง ปริมาณการสูบจ่าย สารเคมี และ แรงดันที่เหมาะสมครับ

3.ต้องการ Metering pump เพื่อใช้กับสารเคมีอะไร ?

ที่ต้องการทราบว่าใช้สูบสารเคมีใด เพราะจำเป็นต้องไปเลือกวัสดุของปั๊มที่สามารถทนกับสารเคมีนั้นๆได้เป็นอย่างดีครับ เช่น สูบ คลอรีนน้ำ Sodium hypochlorite 12.5% , กรดซัลฟิวริก sulfaric acid 93% , hypochlorite acid 10 % , Sodium hydroxide 50% หรือ cation polymer โพลิเมอร์

” จำเป็นต้องเลือกวัสดุของปั๊มที่สามารถทนกับสารเคมีนั้นๆได้เป็นอย่างดีครับ “

3.1 วัสดุ dosing head ( วัสดุหัวปั๊ม )

ต้องเลือกหัวปั๊มให้สามารถทรสาร เคมีได้ดีครับ เช่น Sodium hydroxide 50% เหมาะ กับ วัสดุ Polypropylene หรือ PVDF

dosing pump chemical guide

หรือ หากสูบ Sulfuric acid 95% เหมาะกับวัสดุ PVDF ที่สุด
ที่อุณหภูมิไม่เกิน 120°F หรือ 48.89 °C เป็นต้นครับ

metering pump chemical guide
การติดตั้ง metering pump
การติดตั้ง dosing chemical pump

3.2 ความหนืดของสารเคมี หนืดแค่ไหน ?

โดยปกติ metering pump ถูกออกแบบมาจ่ายสารเคมีที่มีความหนืดไม่เกิน 1,500 centipoise (Cps) ครับเพราะหากหนืดกว่านั้นอาจทำให้สูบไม่ไป และ ลดความแม่นยำในการจ่ายสารเคมีลง อาจต้องพิจารณาปั๊มชนิดอื่นเช่น Diaphragm pump แทนครับ

ความหนืดของของเหลวต้องดูจาก MSDS ของสารเคมีหรือ ของเหลวนั้นๆครับ โดยมีตัวอย่างความหนืด คร่าวๆตามตัวอย่างด้านล่าง เพื่อความเข้าใจ ครับ

ตัวอย่างของเหลวทีต้องการสูบ

ความหนืดในหน่วย cps
ครีม โลชั่น
6,000
คลอรีนน้ำ โซเดียมไฮโปคลอไรต์ ( Sodium hypochlorite )
2.6
โซดาไฟ ( NaOH )
140
กรดซัลฟิวริก ( Sulfuric acid ) 26.7
โพลิเมอร์ ( 0.05 % )250
น้ำ1

เลือกหัวขับปั๊มแบบโซลินอยด์ หรือ แบบมอเตอร์ดี ?

หากคุณลูกค้ายังไม่คุ้นกับปั๊มหัวขับเคลื่อนด้วยโซลินอยด์ ขออธิบายง่ายๆดังนี้ครับว่า ระบบจะจ่ายไฟเข้าแม่เหล็กโซลินอยด์ เพื่อให้ทำงาน รับไฟฟ้า 220 V ครับ และ การขับเคลื่อนแบบมอเตอร์นั้นเกิดจากไฟฟ้า ทำให้มอเตอร์หมุน สามารถรับไฟ 220V และ 380 V ครับ

เอาเป็นว่าลองมาดูข้อดีข้อเสียของทั้งสองแบบดูในการช่วยตัดสินใจเลือกครับ

Solenoid Driven Diaphragm Metering Pumps

ข้อดี ขับเคลื่อนแบบโซลินอยด์ข้อเสีย
ราคาถูก อายุการใช้งานสั้น
ขนาดเล็กและเบามีข้อจำกัดในเรื่องของ Flowrate ได้ไม่มาก
มีสัญญาณดิจิตอลในตัว Input/outputมีข้อจำกัดเรื่องแรงดัน
จ่ายสารเคมีแม่นยำใน Flowrate ต่ำๆ

Motor Driven Diaphragm Metering Pumps

ข้อดี ขับเคลื่อนแบบมอเตอร์ข้อเสีย
ออกแบบให้มีความทนทานราคาสูง
รองรับการจ่ายสารเคมีปริมาณมากปั๊มค่อนข้างหนัก
รองรับแรงดันสูงมากสัญญาณดิจิตอล Input/output ต้องมีอุปกรณ์เพิ่มแยกต่างหาก
ออกแบบให้ซื้อมาซ่อมไม่ให้ซื้อมาเปลี่ยน

10 เรื่องที่ต้องรู้ก่อนติดตั้ง dosing pump

  1. ติดตั้ง dosing pump ให้ใกล้กับที่ตั้งของถังสารเคมีมากที่สุด
  2. พยายามให้สายด้านดูดสั้นที่สุดครับ ควรไม่เกิน 1 เมตรครับ
  3. ระวังให้สาย hose โค้งงอ หรือ air lock เสียหายขณะติดตั้งครับ
  4. ต้องมีการไล่อากาศ( ลม ) ในท่อดูดท่อจ่ายในการใช้งานครั้งแรก
  5. ควรเปลี่ยนสารเคมีก่อนที่หมดถัง เพราะอาจทำให้มีลมเข้าไปใน dosing pump ของเราแทน ( ควรติดตั้ง level switch ที่ด้านท่อดูดเพื่อป้องกันครับ )
  6. ระวังการ run dry ควรมี flow checker ครับ
  7. หากปั๊มติดตั้งในตำแหน่ง positive inlet. ให้เพิ่มวาล์วในท่อด้านดูด
  8. การติดตั้งปั๊มใน positive inlet แนะนำสำหรับของเหลวที่มีแก๊สปน
  9. ควรติดตั้ง pressure gauge ที่ท่อทางจ่ายของ metering pump ถ้าจำเป็นควรติดตั้ง pulsation dampener เพื่อป้องกันแรงดันที่เราไม่ต้องการครับ
  10. ควรติดตั้ง check valve ( back pressure valve ) ในท่อทางจ่ายก่อนออกเพื่อป้องกันสารเคมีย้อนกลับเข้ามาในระบบ และ ทำให้สารเคมีที่ต้องการจ่ายแม่นยำด้วยครับ
การติดตั้ง dosing pump
งานติดตั้ง dosing pump

งานติดตั้ง metering pump
การติดตั้งปั๊มฟีด

HTML Snippets Powered By : XYZScripts.com