เป็นที่ทราบดีครับว่า การลงทุนสร้าง ระบบบำบัดน้ำเสีย นั้นตรงข้ามกับการเพิ่มกำไรให้บริษัท การเลือก บริษัท บํา บัด น้ํา เสีย ที่มีความเข้าใจในความต้องการนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมากครับ
เรา envigear ทราบดีว่าการออกแบบระบบบำบัดน้ำเสีย ที่ดีนั้นต้องประกอบไปด้วย
Envigear จึงเป็น บริษัท บํา บัด น้ํา เสีย ที่ต้องการตอบทุกโจทย์ที่เป็นไปได้ คำนึงถึงทุกข้อที่ลูกค้าต้องการ เราจึงออกแบบระบบให้ แบบ Tailor made, คือเหมาะสมและเจาะจงรายละเอียดในแต่ละลูกค้า เพื่อให้ทุกการลงทุน มีประโยชน์และสามารถช่วยเหลือสิ่งแวดล้อม ได้ตามเป้าหมายครับ
ระบบบำบัดน้ำเสียคือ
สถานที่รวบรวมน้ำเสียจากแหล่งกำเนิดน้ำเสียจาก กระบวนการต่างๆในโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อนำมาเข้าสู่กระบวนการบำบัด ( เพื่อให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้ง )แบบต่างๆ เพื่อกำจัดมลพิษและสารปนเปื้อนที่อยู่ในน้ำเสีย ให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น จนสามารถปล่อย และไม่ส่งผลกระทบและก่อความเสียหายต่อแม่น้ำ ลำคลอง แหล่งน้ำธรรมชาติ หรือสิ่งแวดล้อมโดยรอบ โดยน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วนั้นจะสามารถระบายลงสู่แม่น้ำสาธารณะ หรือสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ในบางส่วน เพื่อเป็นประโยชน์ในการลดปริมาณการซื้อน้ำของโรงงานอุตสาหกรรมเอง เช่น กระบวนการล้างพื้น รดน้ำต้นไม้ ใช้ใน Cooling tower เป็นต้น
แม้ว่าน้ำจะเป็นแหล่งทรัพยากรที่มีการใช้ซ้ำหลายครั้งวนเวียนเป็น “วัฏจักร” และมีกระบวนการทำให้สะอาดโดยตัวมันเอง (Self Purification) แต่ที่ทุกท่านทราบคือ จะต้องใช้ระยะเวลาที่นานกว่าที่จะสามารถทำความสะอาดด้วยตังเองได้ และกระบวนการนี้ก็มีขีดความสามารถจำกัดในแต่ละแหล่งน้ำ ดังนั้น การบำบัดน้ำเสียจึงเป็นกลไกสำคัญอันหนึ่งที่จะช่วยลดภาระของแหล่งน้ำในการทำความสะอาดตัวเองตาม ธรรมชาติและช่วยป้องกันมิให้สารมลพิษปนเปื้อนลงสู่แหล่งน้ำดิบ ต่อไป
การบำบัดน้ำเสีย
การเลือกระบบบำบัดน้ำเสียขึ้นกับปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ลักษณะของน้ำเสีย ระดับการบำบัดน้ำเสียที่ต้องการ สภาพทั่วไปของท้องถิ่น ค่าลงทุนก่อสร้างและค่าดำเนินการดูแลและบำรุงรักษา และขนาดของที่ดินที่ใช้ในการ ก่อสร้าง เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้ระบบบำบัดน้ำเสียที่เลือกมีความเหมาะสมกับแต่ละท้องถิ่น ซึ่งมีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน โดยการบำบัดน้ำเสียสามารถแบ่งได้ตามกลไกที่ใช้ในการกำจัดสิ่งเจือปนในน้ำเสีย ได้ดังนี้
1. การบำบัดทางกายภาพ (Physical Treatment) : เป็นวิธีการแยกเอาสิ่งเจือปนออกจากน้ำเสีย เช่น ของแข็งขนาดใหญ่ กระดาษ พลาสติก เศษอาหาร กรวด ทราย ไขมันและน้ำมัน โดยใช้อุปกรณ์ในการบำบัดทางกายภาพ คือ ตะแกรงดักขยะ ถังดักกรวดทราย ถังดักไขมันและน้ำมัน และถังตกตะกอน ซึ่งจะเป็นการลดปริมาณของแข็งทั้งหมดที่มีในน้ำเสียเป็นหลัก
2. การบำบัดทางเคมี (Chemical Treatment) : เป็นวิธีการบำบัดน้ำเสียโดยใช้กระบวนการทางเคมี เพื่อทำปฏิกิริยากับสิ่งเจือปนในน้ำเสีย วิธีการนี้จะใช้สำหรับน้ำเสียที่มีส่วนประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ คือ ค่าพีเอชสูงหรือต่ำเกินไป มีสารพิษ มีโลหะหนัก มีของแข็งแขวนลอยที่ตกตะกอนยาก มีไขมันและน้ำมันที่ละลายน้ำ มีไนโตรเจนหรือฟอสฟอรัสที่สูงเกินไป และมีเชื้อโรค ทั้งนี้อุปกรณ์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีทางเคมี ได้แก่ ถังกวนเร็ว ถังกวนช้า ถังตกตะกอน ถังกรอง และถังฆ่าเชื้อโรค
3. การบำบัดทางชีวภาพ (Biological Treatment) : เป็นวิธีการบำบัดน้ำเสียโดยใช้กระบวนการทาง ชีวภาพหรือใช้จุลินทรีย์ ในการกำจัดสิ่งเจือปนในน้ำเสียโดยเฉพาะสารคาร์บอนอินทรีย์ ไนโตรเจน และฟอสฟอรัส โดยความสกปรกเหล่านี้จะถูกใช้เป็นอาหารและเป็นแหล่งพลังงานของจุลินทรีย์ในถังเลี้ยงเชื้อเพื่อการเจริญเติบโต ทำให้น้ำเสียมีค่าความสกปรกลดลง โดยจุลินทรีย์เหล่านี้อาจเป็นแบบใช้ออกซิเจน (Aerobic Organisms) หรือไม่ใช้ออกซิเจน (Anaerobic Organisms) ก็ได้ ระบบบำบัดน้ำเสียที่อาศัยหลักการทางชีวภาพ ได้แก่ ระบบ แอกทิเวเต็ดสลัดจ์ (Activate Sludge, AS) ระบบแผ่นจานหมุนชีวภาพ (Rotating Biological Contactor, RBC) ระบบคลอง วนเวียน (Oxidation Ditch, OD) ระบบบ่อเติมอากาศ (Aerated Lagoon, AL) ระบบโปรยกรอง(Trickling Filter) ระบบบ่อบำบัดน้ำเสีย (Stabilization Pond) ระบบยูเอเอสบี (Upflow Anaerobic Sludge Blanket, UASB) และ ระบบกรองไร้อากาศ (Anaerobic Filter, AF) เป็นต้น
If you enjoyed this article please consider sharing it!
We make simple and easy to WordPress themes that will make your website easily. You just need to install the theme on your website will be ready within a minute.