” ถังบําบัดน้ําเสีย 10000 ลิตร ราคา ” เท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับ อะไรบ้าง เลือกอย่างไร วิธีคำนวนหามาได้อย่างไร ถังบำบัดน้ำเสียต้องมีปริมาตรเท่าไหร่ ตามมาดูกันเลยครับ
หากทราบ ราคา ถังบำบัดน้ำเสียขนาด 10000 ลิตร เราต้อง ทราบ ข้อมูล เบื้องต้นดังนี้ครับ
หากท่านทราบข้อมูลเหล่านี้อยู่แล้ว สามารถเลือกราคาจากด้านล่างได้เลยครับ
ขนาด ( Dia x Lenght ) | ความจุน้ำเสีย ( ลิตร ) | จำนวนเครื่องเติมอากาศ | ขนาดเติมอากาศ | ราคา ( บาท ) |
ขนาดถัง 2.0 x 3.5 เมตร | 10,000 | – | – | 54,000 |
ขนาดถัง 2.0 x 3.5 เมตร | 10,000 | 1 เครื่อง | 100 ลิตรต่อนาที | 73,500 |
ขนาดถัง 2.0 x 3.5 เมตร | 10,000 | 1 เครื่อง | 150 ลิตรต่อนาที | 82,000 |
ขนาดถัง 2.0 x 3.5 เมตร | 10,000 | 1 เครื่อง | 200 ลิตรต่อนาที | 87,500 |
ขนาดถัง 2.0 x 3.5 เมตร | 10,000 | 2 เครื่อง | 150 ลิตรต่อนาที | 100,000 |
ขนาดถัง 2.0 x 3.5 เมตร | 10,000 | 2 เครื่อง | 200 ลิตรต่อนาที | 105,000 |
*** ราคานี้รวม ท่อ Flex สลิง ฝาบำบัด หัวเชื้อระบบ เครื่องเติมอากาศแล้ว
**** ราคานี้ไม่รวมค่าขนส่ง
พิเศษ! หากต้องการสั่งซื้อถัง สามารถตกลงค่าขนส่ง โทรหาอ้อ ที่ 097-101-9873 ได้เลยครับ
***ต่างจังหวัดมีค่าส่ง ส่งบางจังหวัด กรุณาโทรสอบถามค่าส่งก่อนการสั่งซื้อนะครับ***
โดย ประสิทธิภาพในการบำบัด เพื่อลดปริมาณ BOD ในน้ำเสียโดย ระบบบำบัดแบบใช้อากาศ เพื่อให้ได้ 85-90 % นั้น ต้องให้มวลน้ำเสียอยู่ในถังบำบัด ( ชนิดเติมอากาศ ) ต้องมีระยะเวลาเก็บที่เหมาะสม ( HRT ) และ มีการเติมอากาศให้เพียงพอครับ อันดับแรกที่ต้องดูคือพื้นที่ติดตั้งถังของเราครับ ว่าเหมาะสมกับ ขนาดถังบำบัดน้ำเสีย ?
ในการผลิตถังบำบัดน้ำเสีย ให้มีความจุ 10,000 ลิตรนั้นสามารถทำได้ หลายขนาด ( ตามเส้นผ่านศูนย์กลาง ) ครับ ดังตารางด้านล่างครับ คุณลูกค้าสามารถเลือกให้เหมาะกับพื้นที่ของหน้างานได้เลยครับ
เส้นผ่านศูนย์กลางถัง ( เมตร ) | ความยาวถัง ( เมตร ) | ความจุถัง ( ลิตร ) |
1.6 | 6.5 | 10,000 |
2 | 4.2 | 10,000 |
2.2 | 3.5 | 10,000 |
2.5 | 2.7 | 10,000 |
ความสกปรกในรูป BOD และ อัตราการไหลของน้ำเสีย นั้นเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อให้สามารถคำนวนได้ว่า ถังบำบัดน้ำเสียขนาด 10000 ลิตร ของเรานั้นสามารถรองรับ Load ของน้ำเสียได้ ? ครับ
ยกตัวอย่างรายการคำนวนของ ระบบบำบัดนำ้เสีย อัตราการไหล ของบ้านพัก 20 ยูนิตครับ
อัตราการไหล = 500 ลิตร/วัน ต่อห้อง 20 ห้อง = 10,000 ลิตรต่อวัน
สมมุติค่าค่าบีโอดี BOD เข้าระบบ 250 มก/ล หรือ กรัมต่อลบ.ม.
ห้องแยกกากของแข็งโดย % BOD removal = 20% HRT ( ระยะเวลาเก็บกัก 6-8 ชม )
เรามาลองทำความเข้าใจระบบบำบัดน้ำเสีย ชนิดแบบ Suspended growth treatment หรือ ระบบบำบัดโดยการโตของจุลินทรีย์ที่แขวนลอยอยู่ในนำ้เสียกันครับ
มาดูกระบวนการบำบัดน้ำทางชีวภาพแบบตะกอนเร่ง กวนสมบูรณ์ดูครับ Completely mixed activated sludge ( CMAS ) เรามีเทคโนโลยีอื่นในการบำบัดน้ำเสียด้วยครับ เช่น การบำบัด MBBR หากสนใจ คลิ๊ก
SRT หรือ ระยะเวลาของตะกอนที่อยู่ในระบบเป็นสิ่งแรกที่สำคัญในการนำมาคำนวน โดยมีผลต่อการเกิดตะกอนขึ้นมาอย่างมากครับ เราลองมาสมมุติให้การเกิดตะกอนสมบูรณ์ และจะอยู่ในถังตกตะกอน Clarifier 100% กันโดยไม่มี ตะกอนเหลือค้างอยู่ใน ถังเติมอากาศ Aeration tank เลยนะครับ
จากสูตร V = (Y*Qs*(Qi-Qo)*θc)/(X*(1+Ke*θc))
V = (0.5*(10000/1000)*((250*0.8)-10)*10)/(2500*(1+0.05*10))
ปริมาตรห้องเติมอากาศ 2.53 ลบ.ม.* 1.5 safety. = 3.8 ลบ.ม.
ปริมาตรห้องตะกอนสามารถคำนวนได้ง่ายๆ โดยปริมาตรห้องต้องมี HRT > 2 ชั่วโมงครับ แต่ส่วนสำคัญอีกอย่างนึง นอกจากปริมาตรคือ พื้นที่หน้าตัดของถัง ครับ โดยระบบบำบัดน้ำเสีย ASP จะต้องใช้ SOR ( Surface overload rate 24 – 32 m3/m2-d) ครับ
จาก ตัวอย่างเรายังต้องมาคำนวน เครื่องเติมอากาศ ถังบําบัดน้ําเสีย 10000 ลิตร ว่าจะราคาเท่าไหร่กันแน่ครับ
ในการคำนวนหาขนาดของเครื่องเติมอากาศ ขึ้นอยู่กับ ปริมาณความสกปรกรูป bCOD หรือ BOD อินทรีย์ที่สามารถย่อยสลายได้ครับ จากตัวอย่างข้างต้น BOD หลังผ่านห้องแยกกาก แล้วลดลง 20% ครับ
การคำนวนหาความต้องการอากาศ มีหลายวิธีครับ ขอเสนอวิธีที่ง่ายที่สุด คือโดยการคำนวนตามทฤษฎีแบบเผื่อๆ วิธีนี้ยังไม่รวมปริมาณ O2 เพื่อกำจัด N ไนโตรเจนนะครับ
จากตัวอย่าง อัตราการไหลน้ำเสีย 10,000 ลิตรต่อวัน ต้องการ Oxygen = 200 – 10 = 190 mg/l BOD loading = 1.3 x (10000/1000 x 190)/1000 = 2.470 กก O2/วัน = 2
แต่ช้าก่อนครับ ความต้องการ O2 ไม่ใช้ อากาศ ในอากาศ มี O2 เพียง 23.2% ครับ เราจึงต้องแปลง O2 ให้เป็นปริมาณอากาศ โดย ใช้ค่าความหนาแน่นของอากาศ 1.2 กก/ลบ.ม และ ปริมาณ O2 ในอากาศ 0.232
นี่ยังไม่รวมประสิทธิภาพการแพร่กระจายของหัวเติมอากาศ ซึ่งหากเป็นของเราคิดที่ 5% ครับ
เพราะต้องสามารถรองรับน้ำหนักของถัง + น้ำหนักน้ำในถัง + นำ้หนักทราย + น้ำหนักแท่นปูน ได้ครับ บางพื้นที่จำเป็นต้องใช้เสาเข็มเพื่อรองรับครับ
โดยคำนวนจากน้ำหนักบรรทุกประลัย ( พรบ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2527 , ข้อที่ 7 )
อย่างไรก็ตามขึ้นกับ สภาพดินหน้างานด้วยนะครับ อาจมีการปรับ เพิ่ม ลด จำนวนเสาเข็มบ้างในบ้างกรณีครับ
การที่จะรู้ว่า ถังบําบัดน้ําเสีย 10000 ลิตร ราคา เท่าไหร่ จำเป็นต้องทราบถึง ปริมาณน้ำเสีย ความสกปรก ในรูป BOD ทั้งทางเข้าและทางออก เพื่อนำมาหาเครื่องเติมอากาศ และ ขนาดถังบำบัด รวมถึงพื้นที่ในการติดตั้งว่าเหมาะสมกับขนาดถังหรือไม่ครับ