Home » เครื่องเติมอากาศ บําบัดน้ําเสีย ราคาเท่าไหร่ ?

เครื่องเติมอากาศ บําบัดน้ําเสีย ราคาเท่าไหร่ ?

ขนาดของเครื่องเติมอากาศที่เหมาะสมสำหรับระบบบำบัดน้ำเสียนั้นมีความสำคัญมากครับ เพราะจะช่วยให้ระบบบำบัดน้ำเสียทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประหยัดพลังงานอีกด้วยครับ หากเครื่องเติมอากาศ ขนาดเล็กเกินไป จะไม่สามารถบำบัดน้ำเสียได้ตามค่ามาตรฐานครับ แต่หาก เครื่องเติมอากาศใหญ่มากเกินไป จะทำให้เปลืองพลังงานโดยใช่เหตุครับ

หากคุณต้องการทราบว่าเครื่องเติมอากาศในระบบบบำบัดน้ำเสีย นั้นราคาเท่าไหร่ ? คุณลูกค้าต้องทราบข้อมูลอย่างน้อย 3 ข้อมูลนี้ครับ

  1. ปริมาณ ออกซิเจน O2 ที่ต้องการ ( ลบ.ม /. นาที )
  2. ชนิดของหัวกระจายอากาศที่ใช้
  3. สภาพอากาศ พื้นที่ อุณหภูมิ ระดับน้ำทะเล ที่ตั้งของระบบบบำบัด
  4. ใช้กับความสูงกี่เมตร ?

ราคาเครื่องเติมอากาศ บำบัดน้ำเสีย

ราคาของเครื่องเติมอากาศสำหรับบำบัดน้ำเสียจะแตกต่างกันไปตามขนาดและประสิทธิภาพของเครื่องเติมอากาศครับ


ความสำคัญของเครื่องเติมอากาศในการบำบัดน้ำเสีย

เครื่องเติมอากาศถือเป็นอุปกรณ์สำคัญอันดับต้นในการบำบัดน้ำเสียเลยครับ โดยมีหน้าที่ในการเพิ่มออกซิเจน (O2 )ในน้ำเสีย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการย่อยสลายสารอินทรีย์ (BOD, COD,Sulfide, N ) ต่างๆ ในน้ำเสีย โดยช่วยให้จุลินทรีย์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสียเติบโตแข็งแรง สามารถทำงาน ( กินอาหาร ) ได้อย่างมีประสิทธิภาพครับ

ซึ่งจะส่งผลให้น้ำเสียได้รับการบำบัดจนมีคุณภาพดีขึ้น จนผ่านมาตรฐาน ผ่านกฎหมาย จนสามารถปล่อยน้ำเสีนยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติได้อย่างถูกต้องครับ

การคำนวณหาปริมาณ ออกซิเจน O2 ที่ต้องการ ( ลบ.ม /. นาที )

ผมลองยกตัวอย่างการคำนวณหาปริมาณออกซิเจนของจุลินทรีย์ที่ต้องการใช้ในการย่อย( กิน ) ลดค่า BOD อย่างเดียวจาก การบำบัดน้ำเสียชนิด Activiated Sludge ดูนะครับ

ผมชอบคิดว่าคือระบบ ” อากาศดีชื่นใจ จุลินทรีย์อ้วนน้ำใส ” เพราะหากอ้วนจะตกตะกอนได้ดี น้ำก็ใสแจ๋วครับ

จากสูตร O2 = (Q.(Sₒ-S)/1000.f)-1.42Px

Q = อัตราการไหลน้ำเสีย ลบ.ม.ต่อวัน ( ปริมาณน้ำเสียต่อวัน )

Sₒ = BOD ( อาหาร ) ตอนเข้าถังเติมอากาศ

S = BOD ( อาหารที่เหลือ ) ที่ต้องการให้ออกจากถังเติมอากาศ

f = BODu/BOD5 = 0.68 , f = สัดส่วนของค่า BOD จริง กับ BOD5 ที่วัดได้จากห้องแลป

Px = Yobs.Q.(Sₒ-S)/1000 , Px=จุลินทรีย์ที่ตุยแล้วคงไม่ต้องการอากาศเนอะ

Yobs = Y/(1+Kd.θc) , Y = 0.5 , Kd = 0.05 , θc = 10 วัน

Yobs = น้ำหนักจุลินทรีย์อ้วนเทียบกับน้ำหนักอาหารที่มันกินเข้าไป (สังเกตุเห็นได้)

Y = น้ำหนักจุลินทรีย์ที่อ้วนขึ้นเทียบกับน้ำหนักอาหารที่มันกินเข้าไปจริงๆ ( เก่งกว่าซูโม่อีก )

Y = 0.5 คือ หาก จุลินทรีย์กินพิซซ่า 16 กก. จุลินทรีย์จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 8 กก.

kd = อัตราการตุยของ จุลินทรีย์ทั้งหมด เยอะเหมือนกันนะ ( 0.05 – 0.15 )

kd = 0.05 คือ หากมีจุลทรีย์ในระบบ 100,000 ตัว จะมีอัตราการตุย = 5,000 ตัว

θc = ระยะเวลาที่จุลินทรีย์จะอยู่ในระบบบำบัดนี้นานเท่ากี่วัน

การหา ความต้องการอากาศ O2 ได้

การคำนวณหาขนาดเครื่องเติมอากาศที่เหมาะสม

ในการเลือกซื้อเครื่องเติมอากาศ จำเป็นต้องคำนวณหาขนาดที่เหมาะสม กับปริมาณน้ำเสียที่ต้องการบำบัดครับ โดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ เช่น ปริมาณน้ำเสีย, ปริมาณสารอินทรีย์ในน้ำ ( BOD, N ) , อุณหภูมิของน้ำ เป็นต้นครับ

ตัวอย่างการคำนวนหา

เพื่อให้ได้เครื่องเติมอากาศที่มีขนาดและประสิทธิภาพเหมาะสมกับการใช้งานครับ ( หากคำนวณแล้วเครื่องเติมอากาศใหญ่เกินไป เปลืองไฟครับ หากคำนวณแล้วน้อยไปก็ไม่สามารถบำบัดน้ำได้ครับ )

ซึ่งจะช่วยให้ระบบบำบัดน้ำเสียทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประหยัดพลังงานในการใช้งาน

ปัจจัยที่ควรพิจารณาในการเลือกเครื่องเติมอากาศ

เมื่อทราบขนาดเครื่องเติมอากาศที่เหมาะสมแล้ว ควรพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ในการเลือกซื้อเช่นเดียวกันครับ เช่น

  • ประสิทธิภาพการเติมอากาศ (Oxygen Transfer Rate)
  • คุณภาพและความทนทานของวัสดุ
  • ความสะดวกในการติดตั้งและบำรุงรักษา
  • ความประหยัดพลังงานในการใช้งาน
  • การรับประกันและการให้บริการหลังการขาย

การพิจารณาปัจจัยเหล่านี้จะช่วยให้เลือกซื้อเครื่องเติมอากาศที่มีคุณภาพ ตอบสนองความต้องการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความคุ้มค่าในเลือกซื้อครับ

สรุป

เครื่องเติมอากาศถือเป็นอุปกรณ์สำคัญในการบำบัดน้ำเสีย โดยช่วยเพิ่มออกซิเจน O2 ในน้ำ เพื่อให้จุลินทรีย์ที่ใช้ในการบำบัดสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ราคาของเครื่องเติมอากาศจะแตกต่างกันไปตามขนาดและประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงควรคำนวณหาขนาดที่เหมาะสม และพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ในการเลือกซื้อ เพื่อให้ได้เครื่องเติมอากาศที่มีคุณภาพและตอบสนองความต้องการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพครับ

คำถามที่พบบ่อย

1. ขนาดเครื่องเติมอากาศขึ้นอยู่กับอะไร? ขนาดของเครื่องเติมอากาศขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำเสีย, ปริมาณสารอินทรีย์ในน้ำ, และอุณหภูมิของน้ำ เป็นต้น ซึ่งต้องคำนวณหาขนาดที่เหมาะสม

2. เครื่องเติมอากาศมีราคาเท่าไหร่? ราคาของเครื่องเติมอากาศสำหรับบำบัดน้ำเสียจะอยู่ในช่วง 5,000 – 200,000 บาท ขึ้นอยู่กับขนาดและประสิทธิภาพของเครื่อง 3. ปัจจัยอะไรบ้างที่ควรพิจารณาในการเลือกเครื่องเติมอากาศ? ควรพิจารณาปัจจัยต่างๆ เช่น ประสิทธิภาพการเติมอากาศ, คุณภาพและความทนทานของวัสดุ, ความสะดวกในการติดตั้งและบำรุงรักษา, ความประหยัดพลังงาน และการรับประกันและการให้บริการหลังการขาย

HTML Snippets Powered By : XYZScripts.com