เป็นที่ทราบกันดีครับว่า ปัญหาไขมันในน้ำเสียจาก ตลาด ร้านอาหาร โรงอาหาร โรงครัว ทำให้ท่ออุดตัน จนไม่สามารถระบายน้ำได้ ซึ่งเป็นสาเหตุให้น้ำท่วม ระบายได้ช้า เพราะมีไขมันหนามากเกาะท่ออยู่ครับ
เพื่อป้องกันการปล่อยไขมันลงสู่ระบบน้ำเสีย จึงควรแก้ไขที่ต้นเหตุครับคือการดักไขมันใต้ซิงค์ คือ ดักไขมัน ( FOG ) กันตั้งแต่ต้นทางเลยครับ
“FOG = Fat Oil Grease “
คือ ไขมัน น้ำมัน และกึ่งน้ำมัน ไขมัน ( ประมาณจาระบี )
ถังดักไขมัน ( GT ) แบบดั้งเดิม ก็ยังเป็นอุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมที่สุดในการจัดการกับไขมันและน้ำมันครับ ใช้เพื่อควบคุมและกักเก็บไขมันปนเปื้อนอยู่ในน้ำทิ้ง
โดยภายในถังดักไขมันนั้นจะมีตะแกรงดักเศษอาหาร และ ห้องเก็บไขมัน โดยน้ำเสียจะไหลผ่านถังดักไขมันและผ่านชั้นแยกเพื่อให้ไขมันลอยขึ้นมาที่ด้านบนของถัง
จากนั้นน้ำเสีย ( ไม่มีไขมัน ) ที่เหลือจะไหลออกไปยังระบบน้ำเสียโดยผ่านท่อตัวที เพื่อให้น้ำใสไหลออกโดยไม่มีไขมันปนเปื้อนอยู่ในน้ำที่ถูกปล่อยออกมาครับ
อย่างไรก็ตาม การตักไขมันโดยอาศัยความขยันของคนตักนั้นเป็นเรื่องที่ควบคุมยากและทำให้เป็นภาระกับคนตัก และ หลายครั้งครับที่ถังดักไขมันมีน้ำมันสะสมเยอะ เพราะคนเราไม่ชอบตักไขมันซ้ำๆทุกวัน ทำให้ไม่สามารถดักไขมันได้หมด แม้มีถังดักไขมันแล้วก็ตามครับ
เช่นเหตการณ์สมมุติ ตามตลาดแม้ว่ามีถังดักไขมัน พ่อค้าแม่ค้าก็อาจจะเทลงท่อระบายน้ำเลย เพราะจะได้ไม่ต้องมาคอยตักไขมันในถ้งดักไขมันอีกทีครับ
ทางเราจึงออกแบบ ( นวัตกรรม ) ใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวครับ โดย ถังดักไขมันอัตโนมัติ ชนิดพิเศษ AGI นี้ จะรีดและเก็บไขมันออกจากน้ำแบบอัตโนมัติ โดยไม่ต้องใช้คนตักครับ โดยจะขอแยกส่วนการบำบัดเป็น 3 ส่วนดังนี้ครับ
เริ่มต้นเหมือนกับถังดักไขมันชนิดดั้งเดิมครับ คือ AGI จะมีการดักเศษขยะชิ้นใหญ่ หรือแม้แต่ไขมันที่แข็งตัวในอุณหภูมิห้อง ออกจากน้ำเสียน้ำมันก่อนครับ เราออกแบบให้ผ่านตะแกรงละเอียด 1.4 มิลลิเมตรเพื่อป้องกันขยะชิ้นใหญ่ไหลลงสู่ท่อระบายน้ำทิ้งครับ
ไขมันที่ผสมน้ำบางชนิดพร้อมที่จะแข็งตัวในอุณหภูมิห้องครับ ซึ่งการที่จะดักไขมันได้ทั้งหมดนั้น จำเป็นต้องเปลี่ยนไขมันให้เป็นของเหลวทั้งหมดครับ ซึ่งขึ้นกับจุดหลอมเหลว ( Melting Point ) ของกรดไขมันที่ผสมอยู่ในไขมันที่เราต้องการกำจัดออกครับ
เพื่อรักษาสภาพน้ำมันที่ไม่ให้ละลายน้ำ ( เปลี่ยนไขมัน —> น้ำมันให้หมด ) หากต้องการทราบลึกๆว่า ทำไมกรดไขมัน จึงมีผลต่อ จุด Melting point ให้ไปที่บทความเรื่อง ไขมันคืออะไร ? ได้เลยครับ
ซึ่งเราได้เลือกใช้เครื่องทำความร้อนชนิดจุ่มน้ำ มาช่วยเพิ่มอุณหภูมิ 30-40 องศา โดยเราจะตั้งค่าอุณหภูมิ โดยขึ้นอยู่กับว่าเป็นน้ำมันชนิดใดที่ปนอยู่ในน้ำทิ้งครับ
ไขมัน สถานะคือของแข็ง
น้ำมัน สถานะคือของเหลว
ในการออกแบบระบบบำบัดไขมันนั้นสิ่งที่สำคัญคือการแยกน้ำมันออกจากน้ำครับ โดยเราได้ออกแบบ Oil valve, เป็นวาล์วที่ทำหน้าที่ในการแยกชั้นไขมันออกจากน้ำ ในส่วน Main separation chamber โดยน้ำมันจะถูกวาล์วของ AGI แยกน้ำมันออกจากน้ำได้ 97% **
โดยใช้หลักการบำบัดทางกายภาพ Physical treatment ครับ โดยออกแบบจากความแตกต่างของความหนาแน่นของไขมัน ( Oil Density ) ที่จะลอยอยู่เหนือผิวน้ำเป็นหลักครับ
** หากน้ำมันไม่รวมตัวกับน้ำผสมเป็นเนื้อเดียวกันโดย อิมัลชั่น ( Emulsion ) ครับ
เพื่อให้การออกแบบมีประสิทธิภาพที่สุด ในการออกแบบ AGI ขนาดใหญ่ คุณลูกค้าสามารถส่งน้ำเสียไขมันมาทดสอบกับเรา เพื่อวัดความหนาแน่นของไขมันได้ครับ
ความหนาแน่นของไขมัน และ ความหนาแน่นของน้ำมัน ชนิดต่างๆ
ไขมัน และ น้ำมัน | ความหนาแน่น ( Density ) ที่อุณหภูมิ 20 องศา ( ก./ลบ.ซม. ) |
ไขมันสัตว์ | 0.85 ถึง 0.94 |
ไขมันเนย | 1.00 |
น้ำมันหอมระเหย โป๊ยกั๊ก | 0.91 |
เนยโกโก้ | 0.89 ถึง 0.94 |
นำ้มันระหุ่ง | 0.95 ถึง 0.97 |
น้ำมันมะพร้าว | 0.92 ถึง 0.93 |
น้ำมันข้าวโพด | 0.92 |
น้ำมันเมล็ดฝ้าย | 0.92 |
น้ำมันสน | 0.87 ถึง 0.91 |
น้ำมันปลา | 0.89 ถึง 0.94 |
น้ำมันโจโจบา | 0.86 ถึง 0.90 |
น้ำมันหมู | 0.91 ถึง 0.92 |
น้ำมันลินสีด | 0.93 ถึง 0.94 |
น้ำมันมาร์จอรัม | 0.89 ถึง 0.91 |
กรดโอเลอิก | 0.89 ถึง 0.90 |
น้ำมันมะกอก | 0.91 |
น้ำมันปาลมิติก | 0.84 |
น้ำมันปาล์ม – เนื้อในเมล็ด | 0.94 ถึง 0.95 |
น้ำมันปาล์ม – เนื้อเมล็ด | 0.91 ถึง 0.92 |
น้ำมันถั่วลิสง | 0.91 ถึง 0.92 |
น้ำมันเมล็ดดอกป๊อปปี้ | 0.92 |
น้ำมันคาโนลา | 0.91 ถึง 0.92 |
น้ำมันยางไม้ | 0.87 ถึง 0.91 |
น้ำมันงา | 0.92 |
น้ำมันถั่วเหลือง | 0.92 ถึง 0.93 |
กรดสเตียริก | 0.84 |
น้ำมันดอกทานตะวัน | 0.92 ถึง 0.93 |
ไขมันวัว | 0.92 |
น้ำมันพืช | 0.95 ถึง 0.97 |
น้ำมันไม้ | 0.95 ถึง 0.97 |
ด้วยตารางความหนาแน่นของน้ำนี้เราจึงสามารถนำไขมันออกจาก Oil Valve ได้ อย่างมีประสิทธิภาพครับ