หากคุณลูกค้าต้องการงานติดตั้งด้วย ราคาถัง + ติดตั้งดูได้จากในตารางเลยนะคะ
ส่วนการติดตั้งถังที่มากกว่าขนาด 2000 ลิตรต้อง เสนอราคาทั้ง ถังและค่าแรง ค่าของงานติดตั้งตามหน้างานค่ะ
โดยราคานี้เป็นงานติดตั้งจากการ ขุดดิน + ลงเข็ม + เทปูนวางถัง ยังไม่รวมงาน เจาะพื้นคอนกรีต หรืองานท่อนะคะ
พิเศษ! เฉพาะเดือนนี้ สำหรับงาน ถัง + ติดตั้ง หากโทรมา 081-923-9873 ยุ้ยค่ะ
**** หมายเหตุ : ราคาข้างบนไม่รวมค่าแรงและค่าท่อ ต่อเข้า – ออก ( ค่าแรง ค่าท่อ และอุปกรณ์ต้องคำนวนจากหน้างานค่ะ
ราคาข้างบนไม่รวม งานสกัดปูนพื้นวางถัง และ งานเทปูนค่ะ
ราคาข้างบน ไม่รวมทรายหยาบกลบรอบถัง ( ราคานี้ใช้ดินที่ขุดมากลบรอบถังค่ะ )
ราคานี้ไม่รวม เก็บเศษดิน เศษปูน ที่ขุดได้ออกจากที่หน้างานค่ะ ( รถเก็บเศษดินคิดราคาต่างกันค่ะ ขึ้นอยู่กับระยะทางเข้าออกบ้านของคุณลูกค้า )
เพราะแต่ละพื้นที่มีความยากง่ายต่างกัน จำเป็นต้องวัดหน้างานจริงอีกทีค่ะ คิดราคา ตามจริงหน้างานอีกทีนะคะ ****
เราจะเลือกถังบำบัดขนาดเท่าไหร่ดี ?
โดย ประสิทธิภาพในการบำบัด เพื่อลดปริมาณ BOD ในน้ำเสียโดย ระบบบำบัดแบบไม่ใช้อากาศ เพื่อให้ได้ 40-60% นั้น ต้องให้มวลน้ำอยู่ในถังบำบัด ( ชนิดไร้อากาศ ) 48 ชั่วโมงหรือ 2 วันค่ะ ดังนั้น ถังบําบัดน้ําเสีย 1000 ลิตร จึงสามารถรองรับปริมาณน้ำเสียไม่เกิน 500 ลิตร ค่ะ
สูตร x 2
หรืออาจอ้างอิงปริมาณน้ำเสียมาจาก กรมควบคุมมลพิษ แล้ว x 2 วัน จะได้ขนาดถังก็ได้ค่ะ
เช่น อาคารชุด / บ้านพัก 1 ยูนิต มีปริมาณน้ำเสีย 500 ลิตร / วัน x 2 = 1,000 ลิตรต่อยูนิต
* ดังนั้นควร เลือก ” ถังบำบัดน้ำเสีย 1,000 ลิตร 1 ถังต่อ 1 ยูนิต ค่ะ “
มีผู้อยู่อาศัยในหมู่บ้านจัดสรร 4 คน มีปริมาณน้ำเสีย 180 x 4 = 720 ลิตร ต่อวัน x 2 = 1440 ลิตรต่อบ้าน
* ดังนั้นควร เลือก ” ถังบำบัดน้ำเสีย 1,600 ลิตร 1 ถังต่อบ้าน หรือ 800 ลิตร 2 ถัง ต่อบ้านค่ะ “
ทำไมต้องมีเสาเข็ม ?
เพราะต้องสามารถรองรับน้ำหนักของถัง + น้ำหนักน้ำในถัง + นำ้หนักทราย + น้ำหนักแท่นปูน ได้ค่ะ
โดยคำนวนจากน้ำหนักบรรทุกประลัย ( พรบ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2527 , ข้อที่ 7 )
อย่างไรก็ตามขึ้นกับ สภาพดินหน้างานด้วยนะคะ อาจมีการปรับ เพิ่ม ลด จำนวนเสาเข็มบ้างในบ้างกรณีค่ะ