Home » ถังตกตะกอน ระบบกรองงานประปา หรือ งานน้ำเสีย

ถังตกตะกอน ระบบกรองงานประปา หรือ งานน้ำเสีย

ถังตกตะกอน

ถังตกตะกอน

ถังตกตะกอน คือ ถัง หรือ บ่อ ที่ทำให้ของแข็งแขวนลอยที่สามารถตกลงมาได้เองโดยจะใช้แรงโน้มถ่วงของโลกครับ โดยปกติสิ่งที่แขวนลอยอยู่ในน้ำนั้นจะตกตะกอนได้เอง หากมีขนาดและน้ำหนักเกินแรงต้านครับ

ในระบบบำบัดน้ำเราเรียกของแข็งที่จมตัวลงสู่ก้นของถังตกตะกอนทับถมกันเป็นชั้นหนาที่ก้นถังว่า ” ตะกอน ” แต่หากใช้เครื่องมือในการช่วยทำให้ตกตะกอนช่วยให้ตกตะกอนดีขึ้น เราจะเรียกถังนี้ว่าเป็น ถังทำข้น ( Thickener )

เราจะเลือกถังตกตะกอนขนาดเท่าไหร่ดี ?

การเลือกถังตกตะกอนอย่างง่ายๆ ต้องทราบอยู่ 2 เรื่องครับ 

  1. ขนาดของถังตกตะกอน
  2. ปริมาณของ ของแข็งในน้ำ 

ขนาดของถังตกตะกอน 

อัตราการไหลที่เข้าถังตกตะกอน

เราจำเป็นต้องทราบถึง อัตราการไหลของน้ำในการเข้า clarifier ต่อ เวลาครับ เช่น 5,000 ลิตร ต่อ ชม เพื่อนำมาหา ขนาดถัง และ พื้นที่หน้าตัดของถัง ครับ

โดยปกติ ขนาดถัง ที่เหมาะสมกับการตกตะกอน เท่ากับ 1.5 – 4 ชั่วโมง x อัตราการไหล ครับ หากเราใช้

” เช่น อัตราการไหล 5,000 ลิตร / ชม x 2 ชม ขนาดถังตกตะกอน ( ส่วนเก็บน้ำ ) ต้องมากกว่า 10,000 ลิตร เป็นต้นครับ “

พื้นที่หนัาตัดของถังตกตะกอน 

เราสามารถรู้ พื้นที่หน้าตัดของถังตกตะกอนได้ จาก ” ความเร็วไหลขึ้นของน้ำในถังตกตะกอน ” โดยความเร็วนี้ มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า SOR , Surface Overflow rate 

อัตราการไหล ( ลบ.มต่อวัน ) / SOR = พื้นที่ถังตกตะกอนที่ต้องการ 

ตำแหน่งวางถังตกตะกอน ความเร็วไหลขึ้น SOR ( m3/m2-d)
สำหรับการตกตะกอนขั้นต้น ( ประปาหมู่บ้าน หรือ การบำบัดทางเคมี ) ( Primary Treatment ) 24 – 32
สำหรับการตกตะกอนชีวภาพ ( Secondary treatment ) 16 – 28

ที่มา หนังสือการออกแบบระบบบำบัดน้ำเสีย Wastewater engineering Metcalf & Eddy 5th Edition.

” เลือกถังตกตะกอนเพื่องาน ประปาหมู่บ้าน อัตราการไหล 5 ลบ.ม ต่อ ชม x ใช้น้ำ 16 ชม/วัน) / 28 ลบ.ม/ตร.ม-วัน. พื้นที่หน้าตัด ถังตกตะกอนต้องมีพื้นที่มากกว่า 2.85 m2 ( ตารางเมตร ) ครับ “

ปริมาณของแข็งในน้ำ

ทำไมต้องรู้เรื่อวของแข็งในน้ำด้วย เพราะมีความจำเป็นในการตกตะกอนครับ ของแข็งๆในน้ำมีหลายอย่างเลยครับ อาจแบ่งของแข็งในน้ำให้ง่ายๆเป็นแค่ 3 แบบครับ

  1. ของแข็งแขวนลอย ตกตะกอนได้ง่าย
  2. ของแข็งแขวนลอย ตกตะกอนยาก ( คอลลอยด์ )
  3. ของแข็งละลายน้ำ

ของแข็งแขวนลอย ตกตะกอนได้ง่าย

ในการเลือกถังตกตะกอนข้างต้น เราคิดเฉพาะของแข็งแขวนลอยที่มีน้ำหนัก และ ขนาดใหญ่ พอที่จะตกตะกอนได้ ภายใน 1-3 ชมครับ สามารถทดลองได้ง่ายๆ โดยการเทน้ำใส่ขวด 1 ลิตร และตั้งน้ำทิ้งไว้ สัก 1,2,4 ชม ลองสังเกตว่าตะกอนตกลงมา ? ครับ หากตกตะกอน สามารถใช้ถังตกตะกอนได้เลยโดยไม่ต้อง มีสารเคมีช่วยในการตกตะกอนครับ

Envigear รับออกแบบ จำหน่าย ติดตั้ง ถังตกตะกอน และระบบการตกตะกอน ซึ่งสามารถใช้ได้ ทั้งในอุตสาหกรรม ประปา และ ระบบบำบัดน้ำเสีย  โดยสามารถลดการใช้พื้นที่ลงจาก design เดิมเกือบ 30% สามารถประหยัดค่าการลงทุนและ operation cost ด้วยนะครับ

งานระบบบำบัดน้ำเสียที่ใช้ได้

  • สามารถใช้ในการตกตะกอนขั้นต้น บำบัดน้ำเสียกายภาพ ระบบรวมตะกอน Coagulation & Floculation
  • ตกตะกอนในอุตสาหกรรมกระดาษ และ เยื่อกระดาษ
  • และเพื่อนำน้ำในการล้างในอุตสาหกรรมอาหารมาใช้ใหม่ ( เช่นล้างอ้อย มัน อื่นๆ ) ด้วยครับ

งานระบบน้ำประปาก็ใช้ได้

  • โดยการทำน้ำให้ใสก่อนเข้าระบบผลิตน้ำประปา

ถัง ตกตะกอน e- lamella

เป็น ถังตกตะกอนที่เป็นทรงสี่เหลี่ยม พร้อมถัง Flocculation และ เพิ่ม e-Media 60 องศา ซึ่งเราออกแบบ มาเพื่อให้สามารถตกตะกอนให้มีประสิทธิภาพสูงสุดและ ประหยัดปริมาตร ( ขนาดถัง ) ที่สุดครับ

ถัง ตกตะกอน e-sediment

เป็น ถังตกตะกอนที่เป็นทรงกระบอก มีโคน หรือ กรวยแหลม ด้านล่างของถังเพื่อปล่อยให้ตะกอนตกและปล่อยออกไป รวมถึงมี Weir เพื่อให้น้ำใสที่แยกชั้นได้ล้นออกอีกทางหนึ่งครับ โดยทาง e-Sediment ออกแบบมาให้มีความลาดเอียงมากกว่า 45 . องศา ครับ

จุดประสงค์ของถังตกตะกอน คือ ให้ช่วยแยกน้ำใส ออกจาก ฝุ่น แร่ธาตุ ตะกอน หรือ สารแขวนลอยชนิดอื่นที่ปนอยู่ในน้ำ ซึ่งอาจตกตะกอนเอง จากน้ำหนักของตะกอน ( ซึ่งอาจใช้เวลานานก็ได้ครับ เช่น หากเราตั้งน้ำละลายผงโกโก้  ตั้งทิ้งไว้นานพอควร ถึงจะแยกชั้นหรือ ตกตะกอน ) หรือ  อาจใช้สารเคมี เพื่อช่วยในการตกตะกอนให้เร็วขึ้นก็ได้ เช่นสารส้ม PAC หรือ Coagulant สารเคมีอื่น เพื่อเร่งเวลาในการตกตะกอน และได้น้ำใส ออกมาในที่สุด   เพื่อหลีกเลี่ยงการก่อตัวของ ตะกอนติดผนัง  สามารถออกแบบ ให้ทำงานเป็น Batch หรือ Continue ก็ได้ครับ

วัสดุที่ใช้ได้ :   ไฟเบอร์กลาส ( FRP ) , เหล็ก CS ( Epoxy coated )  คอนกรีตเสริมเหล็ก ( RCC ) และ Poly Propylene ( PP )

การตกตะกอน : น้ำประปา , น้ำ Soft ,น้ำผิวดิน, น้ำตามแม่น้ำ, ลำคลอง, หนอง, บึง, อ่างเก็บน้ำ, บ่อ, หรือ น้ำเสีย
( อาจใช้ร่วมกับสารเคมีเร่งตกตะกอน  )

อุปกรณ์ที่อาจต้องใช้ร่วม : Static mixer , ใบกวน , ถังผสมสารเคมี, ปั๊มเคมี , ถังกวนช้า , ถังกรอง เป็นต้น

ถังตกตะกอน
Sediment
ถัง ตกตะกอน
10

ถังตกตะกอนแบบ e-lamella

คือการตกตะกอนเพื่อลดพื้นที่ของการตกตะกอนเหมาะสำหรับงานประปา และ น้ำเสีย

lamella clarifier 1
Lamella clarifier 2
Lamella clarifier 3
Lamella clarifier 4
Lamella clarifier 5
Lamella clarifier 5
10
ระบบตกตะกอนทางเคมี งาน ไนตริก อะควารีเจีย
งานระบบบำบัดน้ำเสียเคมี น้ำมัน
ระบบบำบัดน้ำเสียเคมี งานแบตเตอรี่
ระบบบำบัดน้ำเสีย เคมี ชีวภาพแบบสี่เหลี่ยม
ระบบบำบัดน้ำเสียเคมี แบบ coagulation
ถัง Sediment ทรงกลม
บ่อ sediment แบบปูน

ตามทฤษฎีนั้น

การทำน้ำให้ใส หรือ Clarification นั้นเป็นกระบวนการในการปรับปรุงคุณภาพน้ำ โดยทั่วไปจะใช้ในการแยกของแข็งแขวนลอยหรือ Suspended solid ( SS ) จากน้ำ เช่น น้ำดิบเป็นต้นครับ

ในระบบการปรับปรุงคุณภาพน้ำอุตสาหกรรมในปัจจุบัน การทำน้ำใสนั้นจะมักจะใช้วิธี การตกตะกอน Sedimentation ในการออกแบบครับ โดยการตกตะกอนนั้นจะใช้วิธีการแยกตะกอนโดยวิธีกายภาพ หรือใช้แรงโน้มถ่วงของโลกทำให้ตะกอนที่มีน้ำหนัก ตกลงมาครับ

HTML Snippets Powered By : XYZScripts.com