Home » บ่อดักไขมัน ถัง แซท และ ถังบำบัดน้ำเสีย

บ่อดักไขมัน ถัง แซท และ ถังบำบัดน้ำเสีย

เวลาที่ต้องเลือกซื้อ ถังบำบัดน้ำเสีย คุณลูกค้ารู้สึกแบบนี้บ้างหรือไม่ครับว่า เลือกไม่ถูก มีเยอะจริง ชื่ออะไรกันแน่ งงครับ ผมก็ยังงง ว่าจริงๆ แล้ว ” ถัง แซท ” คือ septic ” แซบ – ติก ”  , ” เซป – ติก ” , ” sat ” หรือ  หรือ ถังแซทส์ ที่เป็นชื่อยี่ห้อ ถังบำบัดน้ำเสีย  ? ( เหมือนกับ แฟ้บ หรือ รถเฮียบ ที่เป็นชื่อสินค้า แต่กลายเป็นชื่อเรียก หน่ะครับ ) อันไหนคืออันที่ถูก แต่ก็เป็นอันเข้าใจตรงกันครับว่า

หากเป็น ” ถังแซท ” เนี่ยจะเป็นถังบำบัดนำ้เสียสำเร็จรูป วัสดุพลาสติก PE หรือ FRP ครับ อาจจะมีเติมอากาศหรือไม่มีก็ได้ เรียกถังแซทหมดครับ

หากเป็น ” บ่อเกรอะ – บ่อซึม” จะเป็นถังปูนซีเมนต์ ครับ

โดยทั้งสองชนิดนี้คือ” ถังส้วม ” และ ” ถังบำบัดน้ำเสีย ” เหมือนกันครับ

ขอใบเสนอราคา

 

ก่อนอื่นต้องแนะนำก่อนครับว่า การบำบัดนำ้เสียเนี่ยไม่จำเป็นต้องเป็น “ถัง” ก็ได้ครับ คือเราสามารถใช้ วัสดุใดก็ได้ ที่มีปริมาตร หรือ กักเก็บน้ำเสียได้ในระยะเวลาหนึ่งๆ ก็สามารถบำบัดน้ำเสียได้เหมือนกันครับ ยกตัวอย่าง บ่อเกรอะ ( Septic tank ) หรือ บ่อดินบำบัดน้ำ เช่น Activated lagoon ก็สามารถ เป็นการบำบัดน้ำเสียได้เช่นเดียวกันครับ

โดยเป็นการบำบัดทางชีวภาพแบบสำเร็จรูปก็คือ ” ถังบำบัดน้ำเสีย” นั่นเองครับ

ขออธิบาย ชื่อถังบำบัดต่างๆที่ใช้อยู่ในบ้านเรา ดังนี้นะครับ

บ่อเกรอะ หรือ ถังเกรอะ และบ่อซึม ( Septic tank )

 

คือบ่อเปล่าๆ ที่เอามีไว้เพื่อให้มีการตกตะกอนจาก น้ำเสียจากชักโครก ซึ่งจะมีตะกอน หรือ ก้อนอะไรสักอย่างปนมาด้วย ส่วนที่ลอยจะถูกดักไว้โดยท่อตัวที หรือที่กั้นครับ  เพื่อให้น้ำเสียที่ตกตะกอนบ้าง ย้ำ! ว่าบ้างเพราะบางทีมันก็ก้อนๆมันก็ละลาย ไม่ตกตะกอนซะนี่  จนปนออกไปจากบ่อ หรือ ถังเกรอะครับ จากรูปด้านซ้าย เห็นว่าบ่อเกรอะนั้นทำหน้าทีตกตะกอน ไม่ว่าจะเป็น บ่อเกรอะแค่ 1 ช่อง หรือ 2 ช่อง

 

 

  • ใช้วิธีตกตะกอนในธรรมชาติในการบำบัด
  • มีจุลชีพในการบำบัด บ้าง ( คือแบบน้อยมาก )
  • ประสิทธิภาพในการบำบัด 30-60% ขึ้นอยู่กับดวง ( เพราะไม่รู้จะมีจุลชีพมาบ้างมากน้อยเท่าไหร่ )
  • น้ำใสปนก้อนละลายไหลไปสู่ถังถัดไป ( ปล่อยให้ไหล ไป ) หากไม่ไหลก็ไม่ไป หากตะกอนเต็มก็ไม่ไป
  • ต้องสูบตะกอน หรือ สูบส้วมปีละครั้ง ( พอมั้ย )
  • ไม่ใช้ไฟฟ้า
  • ไม่ต้องดูแลอะไรมาก

บ่อซึม

คือบ่อที่ต่อจากบ่อเกรอะ มีไว้เพื่อระบายน้ำสู่ดิน ที่อยู่บริเวณนั้น ซึ่งหากน้ำท่วม มีแรงดันน้ำ หรือ ดินเหนียว ดินแข็ง ทำให้ซึมยาก หรือ ไม่ซึมเลยนั้น น้ำเสียก็มีโอกาสในการ ย้อนกลับไปถังบ่อเกรอะได้ครับ

 

ถังดักไขมัน ( Grease trap )
ชื่อผลิตภัณฑ์ของเรา คือ e-Greasetrap ครับ

ตรงตัวมากๆครับถังดักไขมัน คือ ทำหน้าที่ดักไขมันก่อนถังบำบัดอื่นๆ หากน้ำเสียนั้นมีไขมันที่ ” ลอย” อยู่บนผิวน้ำครับ ทำไมต้องลอย เพราะบางทีไขมันก็”ละลาย” ในน้ำครับ ทำให้บ่อดักไขมันใช้ไม่ได้ แต่หาก ” ลอย “ทั่วไป ก็สามารถใช้ได้ครับ

e-Grease-trap

ถัง แซท แบบไม่ใช้อากาศ หรือ ถังบำบัดแบบไร้อากาศ (Anaerobic tank )
ชื่อผลิตภัณฑ์ของเรา คือ e-Septic ครับ

ถัง แซ ท

คือ Concept ถังเหมือน Septic tank เลยครับคือมีการตกตะกอนก้อนในช่องแรก  และได้เพิ่มช่อง และพื้นที่สัมผัสในส่วนเกรอะให้จุลชีพมีที่อยู่มากขึ้นคือให้จุลชีพเกาะตัวได้ดี ครับ เกิดการบำบัดได้ดีกว่าถังเปล่าครับ อย่างไรก็ตามเหมาะสำหรับ

  • ใช้วิธีตกตะกอนในธรรมชาติในการบำบัด
  • มีจุลชีพในการบำบัดใช้ได้
  • ประสิทธิภาพในการบำบัด 60 – 80 %  มีจุลชีพแน่ๆ แต่โตช้า
  • มีการดักตะกอนก้อนลอย ทำให้แยกชั้นน้ำเสียได้ดีกว่าบ่อเกรอะ
  • ต้องสูบตะกอน 3 – 5 ปีครั้ง หรือ ไม่ต้องเลย
  • ไม่ใช้ไฟฟ้า
  • ไม่ต้องดูแลอะไรมากเหมือนกันครับ
  • อัตราการไหลของน้ำ ( ปริมาณน้ำเสีย ) ตั้งแต่ 600 ลิตร ถีง 4000 ลิตร / วัน

ดังนั้นหาก BOD เข้าไม่เกิน 100 mg/l หล่ะก็ BOD ออก น่าจะต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานเนอะ ( < 20 mg/l )
e-septic จึงเหมาะกับน้ำเสียที่มีน้ำเสียไม่สกปรกมากๆ BOD < 100 อะไรประมาณนี้ โดย e-septic เหมาะกับ

  • บ้าน
  • อพาร์มเมนต์
  • โรงแรม
  • รีสอร์ท
  • ร้านค้า
  • อาคารพาณิชย์ เป็นต้น

e-Septic

e-Filter

ขอใบเสนอราคา

ถัง แซท แบบใช้อากาศ หรือ ถังบำบัดแบบใช้อากาศ ( Sewage treatment plant : STP)
ชื่อผลิตภัณฑ์ของเรา คือ e-STP ครับ

เป็นถังบำบัดน้ำเสียที่ใช้หลักวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม จริงจังมากทำให้ประสิทธิภาพในการบำบัดดีขึ้นชัดเจนครับ โดยมีตั้งแต่การประยุกต์ใช้ ความดีงามของบ่อเกรอะ คือการตกตะกอน การเพิ่มพื้นที่สัมผัสการยึดเกาะจุลชีพโดยแบบ e-septic และยังมีการใช้  จุลชีพแบบใช้อากาศมาบำบัดเพิ่มอีก โดยในบางรุ่นใหญ่ของเรา ได้มีการเพิ่ม ตะแกรงดักตะกอน หรือ เทคนิค MBBR หรือ ถังตกตะกอน เข้าไปอีกด้วยครับ จึงมั่นใจได้ว่า ถังบำบัดแบบใช้อากาศ e-STP นั้น สุดยอด แจ๋ว และสามารถ บำบัดน้ำเสียได้ตามเกณฑ์มาตรฐานแน่นอน โดยมีหลายรุ่นให้เลือกครับ

 

Screen Shot 2018-01-07 at 10.15.24 PM

  • ใช้วิธีตกตะกอนในธรรมชาติในการบำบัด
  • มีจุลชีพในการบำบัดแบบดีเยี่ยม ( มีทั้งแบบไร้อากาศ ใช้อากาศ )
  • ประสิทธิภาพในการบำบัด  90-95 %  มีจุลชีพแน่ๆ
  • มีการดักตะกอนก้อนลอย ทำให้แยกชั้นน้ำเสียได้ดีกว่าบ่อเกรอะ
  • ไม่ต้องสูบตะกอน ไม่ต้องเลย
  • ใช้ไฟฟ้า ( เสียตังค์ )
  • ดูแลอะไรบ้างนิดหน่อย
  • แพงกว่าอันบนๆ
  • อัตราการไหล ( ปริมาณน้ำเสีย ) 1000 – 100,000 ลิตร / วัน

e-STP จึงเหมาะกับน้ำเสียที่มีน้ำเสียที่สกปรกกลางๆ ถึงมาก  อะไรประมาณนี้ โดย e-STP เหมาะกับ

Screen Shot 2018-01-07 at 10.18.00 PM

  • โครงการ ที่ต้อง approve EIA
  • โรงงานอุตสาหกรรมอาหาร
  • โรงแรมขนาดกลาง ถีง ใหญ่
  • อพารต์เมนต์ขนาดกลาง ถึง ใหญ่
  • บ้านจัดสรร
  • ที่ล้างรถ
  • ร้านอาหาร
  • ร้านซักผ้า
  • โรงพยาบาล
  • ตลาดสด เป็นต้นครับ

 

E-Septic-aerator

e-AS

จริงๆ สามารถใช้ได้กับอีกหลายประเภทครับ แต่ ข้อจำกัดของระบบคือ เป็นถังบำบัดนำ้เสียสำเร็จรูปครับ หากมีปริมาณน้ำมากๆ นั้น envigear แนะนำให้เลือก ระบบบำบัดแบบแยกส่วน หรือ Customize design เป็นกรณีๆไปครับ เพื่อ ให้สามารถบำบัดได้อย่างเต็มประสิทธิภาพที่สุดครับ

 

เพื่อให้ท่านรู้สึกรักโลก รักสิ่งแวดล้อม รักลูกหลานของท่าน โปรดเลือกใช้ ถังบำบัดน้ำเสีย ของ Envigear สักหนึ่งใบ สักร้อยใบนะครับ

ขอใบเสนอราคา

Screen Shot 2018-01-07 at 11.37.58 PM Screen Shot 2018-01-07 at 11.38.08 PM Screen Shot 2018-01-07 at 11.38.49 PM

364574

47310

 

Screen Shot 2020-06-01 at 5.24.39 PM Screen Shot 2020-06-01 at 5.24.57 PM Screen Shot 2020-06-01 at 5.25.10 PM Screen Shot 2020-06-01 at 5.25.27 PM Screen Shot 2020-06-01 at 5.25.41 PM

HTML Snippets Powered By : XYZScripts.com